วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

น้ำใสๆไม่ใช่เรื่องยาก

การมีความสามารถเฉพาะตัวในเรื่องเคมีของสระว่ายน้ำ ไม่ใช่เรื่องยากหากมีข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง และหากคำนึงถึง สระว่ายน้ำที่สมบูรณ์ สะอาด ปลอดภัย และเป็นที่ชื่นชอบของนักว่ายน้ำทั้งหลาย ก็จะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดูแลในด้าน ความสะอาดถูกหลักสาธารณสุขอย่างเป็นขั้นตอน และไม่มีปัญหาตามมาแก่สุขภาพของนักว่ายน้ำ มีน้ำที่ใสสะอาด ปราศจากสาหร่ายปลอดจากเชื้อโรค อันจะเป็นผลให้เกิดโรคต่อผู้ใช้สระว่ายน้ำ และไม่มีเสียงบ่นเรื่องตาแดง หรือ กลิ่นเหม็นของคลอรีน ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงในการดูแลสระว่ายน้ำ จะทราบดีว่า เนื่องจากเราใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค การที่จะทำให้ การดูแลสระว่ายน้ำเป็นเรื่องง่าย และสะดวก หากมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับคลอรีนก็จะทำให้งานยากเป็นง่ายขึ้นมาได้ คลอรีนที่ใช้ในสระว่ายน้ำมีเหตุผลความสำคัญ 3 เรื่อง คือ ด้วยคุณสมบัติที่ให้ผลรวดเร็ว ในการฆ่าเชื้อโรค และ ยังคงรักษาสภาพความสะอาดอยู่ได้ มีประสิทธิภาพในการทำลายสาหร่าย และตัวคลอรีนเองเป็นสารออกซิไดเซอร์ ชนิดแรง และจะทำปฎิกริยากับสารปนเปื้อนอื่น การเข้าใจถึงบทบาทของคลอรีนในการทำให้น้ำเป็นน้ำที่มี ความสะอาดปลอดภัย ก็จะทำให้ทราบถึงพื้นฐานของการใช้เคมีของสระว่ายน้ำได้เป็นอย่างดี

การใช้คลอรีน
หลังจากได้ใส่คลอรีนในสระว่ายน้ำแล้ว ควรได้มีการตรวจสอบทุกวันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้การฆ่าเชื้อโรค มีประสิทธิภาพ การเติมคลอรีนทุกวันจะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่มีอันตราย และที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยของคนได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร หูน้ำหนวก โรคน้ำกัดเท้า การรู้วิธีตรวจสอบน้ำในสระ จะทำให้ทราบถึงปริมาณคลอรีนที่เหลืออยู่ และ ปริมาณความต้องการเติมคลอรีนเพิ่มในแต่ละครั้ง
คำจำกัดความที่สำคัญ
คลอรีนอิสระที่มีอยู่ FAC (Free Available Chlorine)
คือสัดส่วนของคลอรีนทั้งหมด ที่ยังเหลืออยู่ในน้ำที่ผ่านคลอรีนแล้ว และยังไม่ได้ทำปฎิกริยาใด ๆ กับสิ่งปนเปื้อน คลอรีนอิสระนี้จะทำหน้าที่ในการฆ่าแบคทีเรีย และสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ จึงควรแน่ใจว่าสระว่ายน้ำมีชุดตรวจ (Test Kit) หาคลอรีนอิสระ ( FAC) แล้ว เพราะชุดตรวจโดยทั่ว ๆ ไป จะตรวจหาเฉพาะปริมาณคลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine) เท่านั้น ไม่ได้ตรวจคลอรีนอิสระ
คลอรีนรวมที่มีอยู่ (CAC) หรือ คลอรามีน (Combined Available Chlorine or Chloramines) คือสัดส่วนคลอรีนในน้ำที่ได้ทำปฎิกริยาและรวมตัวกับแอมโมเนีย,สารปนเปื้อนที่ประกอบด้วยไนโตรเจน และ สารอินทรีย์อื่น เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ และของเสียอื่น ๆ จากนักว่ายน้ำ ซึ่งคลอรีนบางตัวจะทำให้ตาแสบระคายเคือง และ มีกลิ่นของคลอรีน
คลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine)
เป็นค่าผลรวมของคลอรีนอิสระ (Free Available Chlorine) และคลอรีนรวม (Combined Chlorine)
ส่วนในล้านส่วน, ppm (Parts Per Million)
เป็นค่าที่บอกถึงสัดส่วนของสาร เช่น คลอรีนมีสัดส่วนเป็นน้ำหนัก 1 ส่วนต่อปริมาตรน้ำในสระ 1 ล้านส่วน
การบำบัดเฉียบพลัน (Shock Treatment)
เป็นการบำบัดน้ำในสระให้สะอาด โดยการเติมสารออกซิไดซ์จำนวนหนึ่งลงในสระว่ายน้ำ เพื่อทำลายแอมโมเนีย, สารปนเปือนที่มีไนโตรเจน หรือสารอินทรีย์ การเติมคลอรีนจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นการบำบัดแบบเฉียบพลัน จะสามารถควบคุมสาหร่ายและแบคทีเรียได้ แต่ผู้ใช้จะต้องอ่านคำแนะนำที่ภาชนะบรรจุคลอรีนก่อนว่าคลอรีนชนิดที่ใช้อยู่ สามารถใช้วิธีการแบบนี้ได้หรือไม่
ประเภทของคลอรีนที่นิยมใช้
คลอรีนที่ใช้กันแพร่หลายในสระว่ายน้ำทั่วไป จะได้แก่
- ก๊าซคลอรีน (Chlorine Gas)
- โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium Hypochlorite) น้ำยาฟอกขาว
- แคลเซียม ไฮโปคลอไรท์ (Calcium Hypochlorite) ทั้งชนิดเกล็ดหรือเม็ด
- ลิเทียม ไฮโปคลอไรท์ (Lithium Hypochlorite)
- คลอริเนทเต็ท ไอโซไซยานูเรท (Clorinated Isocyanurates)
หลักการ คือ เมื่อสารประกอบคลอรีนเหล่านี้สัมผัสกับน้ำ ก็จะปล่อยกรดไฮโปคลอรัส(HOCL) ออกมาเป็น สารที่ฆ่าเชื้อโรค ส่วนคลอริเนทเต็ท ไอโซไซยานูเรท(Clorinated Isocyanurates) ซึ่งสารประกอบในกลุ่มนี้ ได้แก่ โซเดียม ไดคลอโรไอโซ ไซยานูเรท (Sodium Dichloroisocyanurate) และไตรคลอโรไอโซไซยานูเรท (Trichloroisocyanurate) เมื่อ สัมผัสกับน้ำจะให้กรดไซยานูริค (Cyanuric Acid) เป็นตัวปรับสภาพน้ำ (Stabilizer) สารปรับสภาพน้ำสามารถแยกเติม ในสระว่ายน้ำ เพื่อลดการสูญเสียคลอรีน อันเนื่องจากรังสีอุลตราไวโอเล็ทจากดวงอาทิตย์

ขั้นตอนการดูแลสระว่ายน้ำ
- ควรอ่านฉลากคำแนะนำการใช้ที่ภาชนะบรรจุคลอรีนอย่างละเอียด
- ตรวจสอบคุณภาพน้ำในสระอย่างสม่ำเสมอ ทำความเข้าใจในการใช้ชุดตรวจสอบ คุณภาพน้ำ (Test Kit) เพื่อให้สามารถรักษาสมดุลทางเคมีของน้ำในสระได้โดยทำการวัดค่าต่อไปนี้
1. ระดับของค่าคลอรีนอิสระ (FAC) ไม่ควรต่ำกว่า 1.0 ppm
2. ระดับของค่าคลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine) เพื่อไม่ให้ค่าคลอรีนรวมที่อยู่ในน้ำต่ำกว่า 0.2 ppm
3. ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 7.2 - 7.6 ซึ่งคลอรีนในน้ำจะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. วัดค่าอัลคาลินิตี้รวม (Total Alkalinity) เพื่อให้แน่ใจว่าค่า pH อยู่คงที่
5. วัดความกระด้างของน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันการกัดกร่อนของพื้นผิวสระว่ายน้ำ
มาตรฐานทางเคมีของสระว่ายน้ำ
แนวทางที่กำหนดเป็นมาตรฐานทางเคมีของสระว่ายน้ำ โดยสถาบันสระว่ายน้ำแห่งชาติ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานทางด้านสาธารณสุขของแต่ละแห่ง ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในแต่ละสระว่ายน้ำที่มี ความแตกต่างกัน และความแตกต่างกันในแต่ละวัน การจดบันทึกข้อมูลการใช้สารเคมี และผลลัพท์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงคุณสมบัติของน้ำในสระได้ และทำให้การแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตรงถูกจุด
ค่ามาตรฐานที่เสนอ
ค่าที่ยอมรับ
- คลอรีนอิสระ (ppm)
1.0 - 3.0
- คลอรีนรวม (ppm)
-
- pH
7.2 - 7.6
- Total Alkalinity (ppm) (เมื่อใช้คลอรีนเหลว, แคเซียมไฮโปคลอไรท์ และลิเทียม ไอโปคลอไรท์)
80 - 100
- Total Alkalinity (ppm) (เมื่อใช้ก๊าซคลอรีน, ไดคลอโร, ไตรคลอโร, และสารประกอบโบรมีน)
100 - 120
- Total Dissolved Solids (ppm) (ของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด)
1,000 - 2,000
- Calcium Hardness (ppm) (ความกระด้าง)
200 - 400
- Cyanuric Acid (ppm) (กรดไซยานูริค)
30 - 50
หมายเหตุ ค่ามาตรฐานตาม National Spa and Pool Institute

การบำบัดน้ำในสระอย่างเฉียบพลัน
หลายท่านอาจมีความเข้าใจว่าการที่เราว่ายน้ำและได้กลิ่นแรงของคลอรีนคงเป็นเพราะมีการใช้คลอรีนมาก ในสระนั้น แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสระน้ำนั้นพยายามที่ใส่คลอรีนมากเกินปริมาณปกติ เพื่อกลบเกลื่อน และ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสระน้ำนั้น การบำบัดน้ำในสระแบบเฉียบพลัน เป็นการเติมสารเคมี ในปริมาณที่มากกว่าปกติ ลงในสระว่ายน้ำ ปริมาณที่สูงเกินปกตินี้จะไปทำลายสารปนเปื้อนอินทรีย์ (Organic Contaminants) และทำการออกซิไดซ์ แอมโมเนีย และ สารประกอบไนโตรเจน และกำจัดกลิ่นของคลอรามีน (Chloramine) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคือง ในกรณีที่ใช้ คลอรีนในการรักษาคุณภาพน้ำในสระ ผลิตภัณฑ์คลอรีนหลายชนิด จะมีคำแนะนำในการฆ่าสาหร่าย และแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำความสะอาดน้ำในสระมากขึ้น การบำบัดแบบเฉียบพลัน ต้องใช้ร่วมกับเครื่องปั๊มและอุปกรณ์กรอง และควรกระทำในเวลาเย็นหลังพระอาทิตย์ตกไปแล้ว เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียคลอรีนไป เนื่องจากรังสีอุลตราไวโอเล็ท คำว่า มีปริมาณคลอรีนเกินจุดอิ่มตัว (Super Chlorination) บางครั้งจะใช้เรียกแทนการบำบัดแบบเฉียบพลัน ซึ่งหมายถึงการทำให้มีค่าคลอรีนอิสระ (FAC) สูงถึง 5 ppm หรือมากกว่าการบำบัดแบบนี้ นอกจากจะช่วยออกซิไดซ์ ของเสียต่าง ๆ ในสระว่ายน้ำแล้ว ยังช่วยกำจัดสาหร่ายและแบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ตามอุปกรณ์กรองน้ำที่ทำความสะอาดได้ยาก ได้อีกด้วย และการทำให้มีปริมาณคลอรีนเกินจุดอิ่มตัว (Super Chlorination) จะยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นของคลอรามีน ซึ่งจากการเติมคลอรีนลงสระว่ายน้ำ ให้ในน้ำมีค่าปริมาณคลอรีนรวมสูงเป็น 10 เท่า จะทำให้มีปริมาณคลอรีนเกินจุดที่เรียกว่า Breakpoint Chlorination ซึ่งสามารถกำจัดคลอรามีน ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคลอรีน
จากรายละเอียดข้างต้นคงจะทำให้ทราบถึงบทบาท และความสำคัญของคลอรีนในการทำให้สระว่ายน้ำ มีความสะอาด ปลอดภัยและเป็นที่วางใจของนักว่ายน้ำได้ หากสระว่ายน้ำดังกล่าวมีมาตรฐานความสะอาด ดังที่ได้กล่าวแล้ว


กฎเกณฑ์พื้นฐานที่ควรปฏิบัติ
- อ่านคำแนะนำการใช้ที่มาจากบริษัทผู้ผลิต และปฏิบัติตามคำแนะนำ
- เก็บสารเคมีในสถานที่ที่เย็นและแห้ง
- อย่าผสมคลอรีนต่างชนิดกันเข้าด้วยกัน แต่ให้แยกเติมคลอรีนแต่ละชนิดลงสระว่ายน้ำ
- อย่าผสมสารเคมีต่างชนิดกันเข้าด้วยกัน แต่ให้แยกเติมสารเคมีแต่ละชนิดลงสระว่ายน้ำ
- หลีกเลี่ยงการสูดดมควันหรือไอของเคมีโดยตรง
- อย่าซื้อหาสารเคมีสำหรับใช้กับสระว่ายน้ำมาใช้เกินความจำเป็นใช้แต่ละฤดูกาล เพราะสารเคมีจะลดประสิทธิภาพ ลงตามระยะเวลาที่เก็บ
- เก็บสารเคมีให้ห่างไกลจากเด็ก
- เพื่อเป็นการประหยัด ควรเติมคลอรีนในเวลากลางคืนเพราะในระหว่างเวลากลางวัน คลอรีนจะสูญเสียไปเนื่องจากแสงอาทิตย์
อันตรายจากสระว่ายน้ำ
จากโรคติดเชื้อ
จากอุบัติเหตุ
จมน้ำ หรือถูกดูดติดกับปากท่อใต้น้ำ
ลื่นหกล้มบริเวณขอบสระ
ใช้ Slider หรือ diving board
จกาการใช้สารเคมี
ฟันกร่อน ฟันหลิม
ระคายเคืองตา โพรงจมูก
สูดดมก๊าซพิษ
ผลกระทบอื่นๆ จากสารตกค้าง
จากการกลืนน้ำ
เด็กอายุ 5-6 เดือน จะเป็น Hyponatremic seizures เนื่องจากกลืนน้ำเข้าไปมาก
การแท้ง และการพิการแต่กำเนิด
กลืนน้ำที่มีคลอรีนเข้าไปมากๆ จะทำให้ท้องเสีย
ความเป็นไปได้ในการติดเชื้อ เมื่อลงน้ำในสระว่ายน้ำ

อวัยวะติดเชื้อ
การป่วย
สาเหตุ
เส้นทางการติดเชื้อ

ผิวหนัง
การอักเสบในแผล พร้อมีหนอง
สตาปิโลคอคเคน และสเตรปโตคอคเคน
โดยทางอาหาร และการสัมผัส การติดเชื้อ จากการสัมผัส ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม จากผ้าเช็ดตัว ฝาผนัง พื้น ฯลฯ

ผื่นตามผิวหนัง
สารเคมี และเชื้อไวรัส
จากเส้นทางน้ำ

โรคเรื้อนกวาง
สารพิษจากสาหร่าย
จากเส้นทางน้ำ

ตุ่มที่เท้า
เชื้อไวรัส
จากพื้นสกปรก และการสัมผัสโดยตรง

ตุ่มต่างๆ ในนักว่ายน้ำ
ไมโครแบคทีเรีย
จากฝาหนังสระว่ายน้ำที่หยาบ และมีเชื้อ

หู
หูอักเสบภายนอก การอักเสบของเส้นทาง ทางรับฟังภายนอก
สตาฟิลคอคเคน และเสตรปโตคอคเคน
จากการติดเชื้อทางอาหาร และจากการสัมผัสโดยเส้นทางน้ำ

การอักเสบตอนกลาง การอักเสบของหูตอนกลาง
สตาฟิโลคอคเคน และเสตรปโตคอคเคน
การติดเชื้อทางอาหารจากมูก ในจมูก และโพรงคอ

ตา
การอักเสบของเยื่อในตา และการอักเสบในลำคอ
เชื้อไวรัส
จากน้ำที่ติดเชื้อ

ทางเดินหายใจ
เป็นหวัด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ฯลฯ
เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย
การติดเชื้อทางอาหาร (เป็นหวัด) และจากการสัมผัสทางน้ำ

น้ำมูกไหล
สารจากสาหร่าย ทำให้แพ้
จากน้ำ

อวัยวะภายใน
สมองอักเสบ
นีกลีเรีย ฟาเลรี
จากน้ำที่ติดเชื้อ

โรคลำไส้
ประเภทของซาลโมนีเลีย และไมโครออกานีสม์
จากน้ำที่ติดเชื้อ

สารเคมีในสระว่ายน้ำ
สารเคมีที่เติมลงไป เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
สารประกอบคลอรีน ชนิด แก๊ซ ของเหลว หรือแบบผง
แก๊ซโอโซน
สารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของน้ำ ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในการปรับความเป็นกรด - ด่าง สารที่ทำให้น้ำกระด้าง เช่น โซดาแอช แคลเซี่ยม กรดเกลือ หรือโซเดียมไปซัลเฟต
สารเคมีตกค้าง (By-product)
DBP (Disinfection by-produce)
กลุ่ม TTHM's (Total trihalomethanes)
Trichloromethane
Dibromochloromethane
Bromodichloromethane
Tribromomethane
กลุ่ม Haloacetic acids
Monobromoacetic acid
Dibromoacetic acid
Monochloroacetic acid
Dichloroacetic acid
Trichloroacetic acid
กลุ่ม Chlorite
กลุ่ม Bromate
Cyanuric acid
Sulfate
Cyanuric acid ใช้ผลิตไตรคลอร์ และไดคลอร์ ไม่ควรมีในน้ำเกิน 100 ppm
Isocyanuric acid ใช้เติมร่วมกับไตรคลอร์ และไดคลอร์ เพื่อเป็นตัว Carrier ไม่ควรมีในน้ำเกิน 150 ppm
สารประกอบคลอรีน
ที่นิยมใช้ในสระว่ายน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คลอรีนที่คงตัว (Stabilized Chlorine)
Trichloroisocyanuric acid (TCCA)
Sodium dichlorocyanurate (SDCC)
คลอรีนจะถูกทำลายได้ง่ายในแสงอาทิตย์ ในวันที่แดดจัด คลอรีนอาจหายไป 2 ppm ภายในไม่กี่ชั่วโมง
แต่เมื่อมีกรดไซยานูริก จะช่วยลดการสูญเสียคลอรีน ทำให้คลอรีนอยู่ในน้ำได้นานขึ้น
ขณะเดียวกัน มีการตกค้างของกรดไซยานูริกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิด "over-stabilized" และเกิด "chlorine lock" คือ สภาวะที่มีคลอรีนในสระว่ายน้ำ แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ เนื่องจากถูกจับ โดยกรดไซยานูริก
คลอรีนที่ไม่คงตัว (Unstabilized Chlorine)
Calcium hypochlorite Ca(OCl)2
Sodium hypochlorite NaOCl
จะสูญเสียคลอรีนประมาณครึ่งหนึ่งทุกๆ 35 นาที เมื่อถูกแสงแดด
การทำงานของคลอรีนในน้ำ
Cl2
H2O
HOCL
[OCL]




Hypochlorous acid

Hypochloride ion
ถ้าน้ำมี pH ต่ำๆ HOCL จะมีมากกว่า [OCL] โดยจะเปลี่ยนเป็น HOCL มากขึ้น
HOCL ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อประมาณไม่เกิน 2 วินาที
[OCL] ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อประมาณ 30 นาที
อัตราส่วนของ HOCL และ [OCL]
จะขึ้นกับ pH ของน้ำ ดังนี้
น้ำที่มี pH 7.0 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 75%
น้ำที่มี pH 7.4 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 52% (เพียงพอกับการฆ่าเชื้อ)
น้ำที่มี pH 8.0 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 25%
คลอรีนจะมีประสิทธิภาพสูง ที่ pH ต่ำ มากกว่า pH สูง
ค่า pH ของน้ำต่ำเกินไป คลอรีนสลายตัวเร็ว แต่ถ้า pH สูงเกินไป ฤทธิ์การฆ่าเชื้อจะเสื่อมลงมาก
ค่า pH ในสระว่ายน้ำที่เหมาะสม ประมาณ 7.4 เนื่องจากเป็น pH ของตาคน
ช่วยทำให้ไม่ระคายเคืองตา
ทำให้กรดไฮโปคอลรัส เพียงพอกับการฆ่าเชื้อ
สภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของสารที่ให้คลอรีน
โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำ 40%) จะมีค่า pH 11.5
แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (ผง 65-70%) จะมีค่า pH 11.5
โซเดียมไดคลอโรไอโซไซยานูเรต (60%) จะมีค่า pH ค่อนข้างเป็นกลาง (5.8-7.0)
กรดไตรคลอโรไอโซไซยานูริค (90%) จะมีค่า pH เป็นกรด (2.0-3.7)
ก๊าซคลอรีน จะมีค่า pH เป็นกรดสูง
วิธีการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ

ระบบเครื่องกรองทราย และเครื่องกรองผ้า
ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำก็เช่นเดียวกันทั้งระบบเครื่องกรองทรายและเครื่องกรองผ้าจะมีวิธีทำความสะอาดเหมือนกัน และช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับดูดตะกอนคือเวลาประมาณ 05.30 น. หรือไม่เกิน 08.00 น. และควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดให้พร้อม โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
1. สายดูดตะกอน (VACUUM HOSE) 2. หัวดูดตะกอน (VACUUM HEAD) 3. ด้ามดูดตะกอนอลูมิเนียม (TELESCOPIC)

เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด
ก่อนดูดตะกอน
1 เปิดฝาท่อดูดบริเวณผนังสระด้านใดด้านหนึ่ง 2 นำสายดูดตะกอนมาต่อเข้ากับหัวดูดตะกอน 3 ต่อด้ามดูดตะกอนอลูมิเนียม 4 กรอกน้ำให้เต็มสายดูดตะกอน เพื่อป้องกันการเกิดสูญญากาศภายในท่อดูด 5 ต่อหัวท่อสายดูดตะกอน เข้ากับท่อดูดตะกอนที่ผนังสระ 6 เปิดวาล์วดูดตะกอน
7 ปิดหรือหรี่วาล์วน้ำแท๊งค์น้ำล้น หรี่วาล์วสะดือ (แล้วแต่แรงดูดที่ต้องการ) 8 เดินเครื่องประมาณ 1 หรือ 2 เครื่อง ขึ้นอยู่กับแรงดูดที่ต้องการ นำเครื่องดูดตะกอนเลื่อน ดูดตะกอนที่พื้นสระจนกว่าจะหมด

หลังดูดตะกอน 1 เปิดวาล์วสะดือ และวาล์วแท๊งค์น้ำ
2 ปิดวาล์วดูด
3 เทน้ำออกจากสายดูดและเก็บอุปกรณ์สำหรับดูดตะกอนไว้ในที่ร่ม หรือห้องเครื่อง
4 ปิดท่อดูดบริเวณผนังสระด้วยฝาปิด

วิธีการล้างทำความสะอาดเครื่อง
เครื่องกรองทราย
ล้างเครื่องกรองแบบไม่เปิดฝาถังกรอง (Back wash)
1. ให้สังเกตแรงดันที่เกจ์วัดความดัน(Pressure gauge)ถ้าขึ้นเกิน 15-20 ปอนด์ (หรือทุก 2 อาทิตย์) ให้ทำการล้างเครื่องกรองทุกครั้ง หากเดินเครื่องที่ความดันดังกล่าวแล้วจะทำให้มอเตอร์ร้อนและรั่วได้ 2. การล้างเครื่องกรองให้ปิดสวิทซ์ไฟมอเตอร์ปั๊มน้ำแล้วปรับตำแหน่งมัลติพอร์ตวาล์วไปตำแหน่ง Back wash แล้วเปิดสวิทซ์ไฟมอเตอร์ปั๊มน้ำ จนกว่าน้ำในหลอดแก้วจะใส
วิธีล้างเครื่องกรองแบบเปิดฝาครอบกรอง
ปิดเครื่อง ปิดวาล์วดูดตะกอน วาล์วสะดือ วาล์วแท้งค์น้ำล้น และวาล์วส่งน้ำเข้าสระ ปิดวาล์วส่งน้ำเข้ากรอง ยกเว้นตัวที่จะทำการล้างกรอง เปิดฝาครอบด้านบนออก โดยไขน็อตออกทุกตัว ใช้มือคนทรายในถังกรองให้ทั่ว ห้าม! ใช้โลหะหรือวัสดุอื่น ๆ เพราะอาจทำให้ถังกรองขูดขีดแตก และอาจโดนไส้กรองหรือสายอากาศภายในเครื่องเสียหายได้ เปิดน้ำไล่สิ่งปกปรกออกจากถังกรองพร้อมคนทรายเพื่อไล่สิ่งสกปรกจนกว่าน้ำจะใส ปิดน้ำ ปิดฝาถังกรองไขน็อตให้แน่น เปิดวาล์วต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งเหมือนเดิม
วิธีล้างเครื่องกรองชนิดผ้า 1. ปิดเครื่องปั๊มน้ำทั้งหมดก่อน 2. เปิดวาล์วไปที่ตำแหน่งล้างย้อนกลับ (Back wash) 3. เดินเครื่องประมาณ 1 นาทีก่อน และปิดปั๊มน้ำครั้งที่ 1 รอสักครู่เปิดปั๊มอีกครั้งหนึ่งประมาณ 30 วินาที และปิดปั๊มครั้งที่ 2 จากนั้นสลับวาล์วไปที่ตำแหน่งกรองเหมือนเดิม
วิธีเติมผงกรอง วิธีที่ 1 เติมโดยไม่ต้องเปิดฝาถังกรอง 1.1 นำผงกรองละลายในถังน้ำ ด้วยอัตราส่วนตาม SPEC ของเครื่อง 1.2 ดูดเข้าเครื่องทางสายดูดตะกอน ผงกรองก็จะเคลือบผ้ากรองโดยอัตโนมัติ หมายเหตุ : วิธีนี้จะต้องควบคุมให้มีน้ำไหลเข้าสายดูดตะกอนและปั๊มน้ำตลอดเวลา วิธีที่ 2 เติมโดยเปิดฝาถังกรอง 2.1 ชั่งน้ำหนักผงกรองด้วยอัตราส่วน 16 ตารางฟุต/ 1 กก. ตักใส่ด้านบนของผ้ากรองจนครบจำนวนแล้วปิดฝาถังกรองให้แน่น 2.2 เปิดปั๊มน้ำกรอง คำเตือน : ควรโรยผงกรองด้านบนอย่างเร็วและรีบปิดฝาเปิดเครื่อง มิฉะนั้นจะนำไปเกาะตัวกันแน่นที่ก้นถังกรอง
การล้างผ้ากรองอย่างละเอียด คือ การล้างแผ่นกรองโดยยกออกมาจากเครื่องกรองแล้วใช้แปรงหรือ น้ำแรง ๆ ฉีดสิ่งสกปรกให้หลุดหมด (การ Back wash โดยปกติแล้ว ผงกรองและสิ่งสกปรกจะหลุดเพียง 80% เท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อการกรองมากนัก จึงแนะนำให้ล้างอย่างละเอียดนี้เพียงปีละ 2 ครั้ง เนื่องจาก การยกแผ่นกรองเข้าออกบ่อย ๆ จะทำได้ยาก ถ้าไม่มีความระมัดระวังอาจจะทำให้โครงผ้ากรองแตกและเสียหายได้ง่าย คำเตือน : จะต้องนำน้ำออกจากถังกรองให้หมดก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการอัดตัวของผงกรอง จะมีผงทำให้เคลือบผ้ากรองล้มเหลว (ทางที่ดีต้องรื้อเริ่มต้นใหม่)
ปั๊มน้ำ สำหรับสระว่ายน้ำที่นิยมใช้ปั๊ม ระบบหมุนรอบ แกนเพลา (Centrifugal Pump) ควรเป็นที่ให้ปริมาตร (Volume) สูง ๆ ความดันปานกลาง ควรมีตะกร้าดักผงหน้าปั๊ม เพื่อป้องกันตะกอนใหญ่ ซึ่งจะทำให้ใบพัดปั๊มอุดตัน อันจะทำให้ปริมาตรปั๊มน้ำลดลงมาก และอาจเป็นสาเหตุให้มอเตอร์ไหม้ได้ อีกประการหนึ่ง ใช้เป็นส่วนช่วยดึงน้ำ (Self Priming Pump) กรณีที่ตั้งปั๊มสูงกว่าระดับผิวน้ำที่สูงระบบหน้า-หลังปั๊ม มีชุดป้องกันการสั่นสะเทือนและการกระแทกของน้ำด้วย สายอ่อนสแตนเลสพร้อมด้วย Check Valve ป้องกันน้ำย้อนกลับ และน้ำหมุนวนกลับของปั๊มข้างเคียง ข้อควรจำ ขณะปั๊มน้ำทำงานต้องมีน้ำอยู่เสมอ ทั้งทางเข้าและทางออกมิเช่นนั้นจะเกิดความร้อน ทำความเสียหายต่อระบบท่อหน้าและหลังปั๊มน้ำ จนอาจทำให้มอเตอร์ปั๊มไหม้ได้ ซึ่งถ้าเกิดกรณีนี้ทางบริษัท ถือเป็นหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่องผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายนี้ การป้องกัน เมื่อเปิดเครื่องแล้วทุกครั้งต้องตรวจสอบว่าวาล์วหน้าปั๊มเปิดอยู่ และมีน้ำอยู่ในปั๊มที่กำลังทำงานจุดตรวจอีกจุดคือ ดูแรงดันของน้ำที่ถังกรองหรือดูแรงดันน้ำที่วาล์วไล่ลม เป็นต้น
ระบบควบคุมปั๊มน้ำ ชุดควบคุมแบ่งเป็น 5 วงจรย่อย ต่อด้วยวงจรสตาร์เดลต้า พร้อมแมกเนติกคอนแทรกเตอร์ และโอเวอร์โลด กระแสไฟที่เข้าระบบทั้งหมดจะถูกตรวจสอบด้วยเฟสคอนโทรล ซึ่งถ้าไฟมาไม่ครบเฟสระบบจะถูกตัดทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ปั๊มน้ำ การตรวจสอบโดยดูไฟโชว์เฟส (LAMP) ทั้ง 3 ต้องติดสว่าง จึงเริ่มเปิดเครื่องใหม่ พอสรุปได้ว่า ระบบควบคุมนี้สามารถป้องกัน และควบคุมปั๊มน้ำไม่ให้เกิดความเสียหายจากไฟตก ไฟเกิน ปั๊มทำงานหนักเกินไป หรือกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เกือบทั้งหมด การเปิด-ปิดปั๊มน้ำ โดยปิดสวิสต์ หรือกดปุ่มเขียวปั๊มหมายเลขที่ต้องการ ควรทิ้งช่วงการเปิดปั๊มแต่ละตัว 20-30 วินาที เพื่อป้องกันกระแสไฟสะดุดช่วงจังหวะเปลี่ยน สตาร์ท และเดลต้าเซอกิต แมกเนติก และโอเวอร์โลด ทำหน้าที่ตัดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือไฟเกินจนเกิดระดับหนึ่ง เริ่มต้นวงจรใหม่โดยเปิดสะพานไฟของวงจรปั๊ม (ยกสะพานไฟ ไม่ให้กระแสไฟไหลผ่าน) ให้สุด กดปุ่ม Reset ที่ชุดโอเวอร์โลด แล้วจึงเริ่มเดินเครื่องใหม่
การเปิดวาล์วน้ำเพื่อการกรองน้ำหมุนเวียนในสระว่ายน้ำ
ให้ปิดวาล์วแท๊งค์น้ำล้น เปิดวาล์วน้ำสะดือ และวาล์วน้ำจ่ายสระว่ายน้ำ
การเติมคลอรีน สระว่ายน้ำจะต้องเติมคลอรีนทุกวัน เนื่องจากฝุ่นละอองอันประกอบด้วยแบคทีเรีย และเชื้อตะไคร่น้ำมากมาย ซึ่งอาจเกิดเชื้อฟักตัวในสระ ทำให้น้ำขุ่นมัวได้ ตลอดจนฝุ่นละอองของโลหะและมีเศษใบไม้แห้งขนาดเล็กๆ อันจะทำให้เกิดสีขึ้น คลอรีนจะทำหน้าที่ฟอกจางสีเพื่อให้ได้น้ำที่ใสสะอาด การเติมคลอรีน จะต้องทำในเวลาหัวค่ำ เนื่องจากในเวลากลางวันน้ำมีอุณหภูมิสูง ทำให้คลอรีนระเหยตัวไว คลอรีน 90% ใส่ทุกๆ คืนในอัตราส่วน 300 กรัมต่อน้ำ 100 คิว จะได้ค่าคลอรีนประมาณ 1.0 – 1.5 PPM. เมื่อวัดในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แนะนำให้รักษาค่าคลอรีนไว้ไม่ให้ ต่ำกว่า 1.0 PPM .เมื่อเวลา 10.00 น. เช้าของทุกวัน ในกรณีค่าคลอรีนมีไม่ถึงหรือมากเกินไปให้ปรับจำนวนการใส่คลอรีนมากน้อยตามความเหมาะสม

การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำ การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำจะทำในเวลาเช้าเพราะไม่มีอันตรายใด และสามรถเล่นน้ำได้ทันที การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำให้ผสมน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วนเสมอ โดยปกติให้ใช้ทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละครั้งในอัตราการใช้ 2 หรือ 3 ออนซ์ต่อน้ำในสระ 5,000 แกลลอน

การเติมน้ำยาจับตะกอน ใส่น้ำยาจับตะกอนในตอนกลางคืนหลังปิดให้บริการ เพื่อให้น้ำยาจับตะกอนทำปฏิกิริยากับตะกอน ทำให้ตะกอนที่แขวงลอยต่างๆ ในสระน้ำมีน้ำหนักมากขึ้นและตกลงสู่พื้นสระ น้ำยาจับตะกอนนี้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ อัตราการเติมน้ำยาจับตะกอนโดยปกติประมาณ 1 แกลลอนต่อน้ำในสระ 1,500 ลบ.เมตร

น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ คือน้ำยาที่มีไว้ สำหรับวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในสระน้ำ น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำนั้นจะประกอบไปด้วยน้ำยา สำหรับวัดค่าคลอรีน และน้ำยาวัดค่าความเป็นกรด เป็นด่างของน้ำในสระน้ำ หรือน้ำยาวัดค่า pH นั่นเอง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ ของน้ำในสระทุกวัน เพื่อให้น้ำในสระมีคุณภาพตรงตาม ที่กำหนดไว้ โดยปกติจะมีการทดสอบทุกวัน เช้าและเย็น
วิธีการทดสอบ 1. นำหลอดทดสอบสภาพน้ำตักน้ำในสระโดยให้ตักน้ำที่ความลึกประมาณ 30 cm.
2. หยดน้ำยาทดสอบสภาพน้ำอย่างละ 4 หยด โดยน้ำยาสีขาวใช้วัดคาคลอรีน น้ำยาสีแดงใช้วัดค่าความเป็นกรดด่าง (pH) 3. ปิดฝาแล้วเขย่าๆ หลอดทดสอบเพื่อให้น้ำยาทดสอบทำปฏิกิริยาเร็วขึ้น 4. เปรียบเทียบค่าสีที่ข้างหลอดทดสอบเพื่ออ่านค่า ค่า PH ในสระว่ายน้ำ pH ใช้ในการวัดคำนวนไฮโดรอิออน (H+) ที่มีอยู่ในสารละลาย โดยใช้วัดระหว่าง 0 – 14 คือ pH ต่ำกว่า 7 เป็นกรด , pH = 7 เป็นกลาง และ pH มากกว่า 7 เป็นด่าง มาตรฐานสำหรับสระน้ำทั่วไปควรจะมี pH = 7.5 หรืออยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 ถ้า pH ต่ำมาก (เป็นกรด) จะเป็นผลให้คลอรีนสลายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดการกัดกร่อนมากขึ้น ทั้งยังทำให้แสบตาเมื่อเล่นน้ำ ถ้า pH สูงเกินไปประสิทธิภาพของคลอรีนลดลง จะเกิดตะกรัน น้ำจะขุ่น และแสบตาเช่นกัน
การเพิ่ม (เมื่อ pH ต่ำกว่า 7.2 ) จะใช้โซดาแอช ( Na2 CO3) (เมื่อ pH สูงกว่า 7.8 ) จะใช้กรดเกลือ ( HcI ) หรือ (NaHSO4)

การปฏิบัติและดูแลสระว่ายน้ำประจำวัน(ทำทุกวัน)

1. หลังทำความสะอาดสระแล้วเช็คค่าคลอรีน พี.เอช.ในน้ำ2. ปรับค่าพี.เอช. อยู่ที่ 7.4-7.6 (P.H)3. ปรับค่าคลอรีนอยู่ที่ 1 PPM ทุกวัน4. การปรับค่าคลอรีนฤดูร้อน- สระบ้าน ให้คลอรีนอยู่ที่ 2 ทำวันเว้นวัน- สระบริการ ให้คลอรีนอยู่ที่ 3 ทำทุกวันฤดูฝน- สระบ้าน ให้คลอรีนอยู่ที่ 1.5 ทำวันเว้นวัน- สระบริการ ให้คลอรีนอยู่ที่ 2 ทำทุกวันฤดูหนาว- สระบ้านให้คลอรีนอยู่ที่ 0.6 ทำวันเว้นวัน- สระบริการให้คลอรีนอยู่ที่ 1.5 ทำทุกวัน
การปฏิบัติและดูแลสระว่ายน้ำนอกเหนือประจำวัน

1. การซุปเปอร์คลอรีน คือ การเติมคลอรีน 2-3 เท่าจากปกติคือ ให้ค่าคลอรีนอยู่ที่ 3PPM สำหรับสระบ้านและสระบริการอยู่ที่ 4PPM การชุบเปอร์คลอรีนมักจะทำหลังจากที่มีคนลงเล่นน้ำจำนวนมาก หรือที่มีตะไคร่ทำลายแอมโมเนียและสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการซึ่งสระสมไว้ในน้ำสระบ้าน- ควรชุปเปอร์คลอรีน 2 อาทิตย์ครั้งสระบริการ- ควรชุปเปอร์คลอรีนอาทิตย์ละครั้ง หรือ 2ครั้ง2. การเติมสารส้มหรือสารจับตะกอนอื่น สารส้มจะใช้ในกรณีที่ใช้สระขุ่นและเขียวมีตะกอนมากก่อนจะเติมสารส้มต้องเติมโซดาแอชก่อนเพื่อให้ค่าP.H. อยู่ที่ 8-9 จากนั้นจึงเติมสารส้มด้วยปริมาณน้ำ ส่วนจำนวนสารส้มดูจากตารางอัตราเคมี เมื่อเติมสารส้มแล้วให้เปิด มัลติพอร์ทวาล์วไปที่ตำแหน่งน้ำหมุนเวียนโดยไม่ผ่านเครื่องกรอง (RECIRCULATE) เปิดไว้ 2 ชม. แล้วปิดเครื่อง ขณะเปิดเครื่องให้คนลงไปตีสารส้มเพื่อให้ตกตะกอนทั้งหมด ทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชม. ตะกอนจะตกหมดทั้งสระ เมื่อตะกอนตกหมดแล้วให้ดูดตะกอนออก โดยเตรียมสายดูดต่างๆ ให้พร้อมหมุน MOTIPORTVALVE มัลติพอร์ทวาล์วไปที่ WASTE (ท่อน้ำทิ้ง) เพื่อให้ตะกอนทิ้งออกไปที่ท่อระบายน้ำทิ้ง(น้ำจะไม่ผ่านระบบการกรอง) เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วให้ชุปเปอร์คลอรีนปรับค่า พี.เอช.ข้อควรจำ- หากใส่สารส้มไม่จำเป็นต้องใส่คลอรีน เมื่อดูดตะกอนแล้วจึงใส่คลอรีน- ตะกอนจะตกดีมาก หากค่า พี.เอช. อยู่ที่ 7.4- 7.6หมายเหตุ- กรณีเติมสารส้ม จะต้องเติมโซดาแอชก่อน เพื่อเพิ่มค่า พี.เอช. ให้สูงขึ้น อัตราส่วนโซดาแอชประมาณ 30% ของสารส้ม เช่น สารส้ม 10 กก จึงต้องใช้โซดาแอช 3 กก ควบคู่กันไปทั้งนี้ค่า พี.เอช. จะต้องอยู่ที่ 7.4-7.6
วิธีการใช้ชุดตรวจสอบความเป็น กรด, ด่าง ของน้ำ (TEST KIT)1. การทดสอบค่าคลอรีนของน้ำภายในสระ (CHLORNE) 1.1 เติมน้ำในสระลงในช่องเล็ก 1.2 เติมน้ำยาหมายเลข 1 (คลอรีน เทส) ลงไป 5 หยด 1.3 ปิดฝาและเขย่าสักระยะหนึ่ง 1.4 เทียบสีที่ปรากฏออกมากับตารางสีดู ดังนี้ - ถ้าสีที่ออกมาดำกว่าระดับ 1 แสดงว่า คลอรีนในน้ำน้อยเกินไป - ถ้าสีที่ออกมาได้ระดับ 1.5 เป็นระดับที่พอดี - ถ้าสีที่ออกมาได้ระดับสูงกว่า 3 เป็นระดับที่มากเกินไป ให้เว้นการเติมไว้จนกว่าค่าคลอรีนจะลดลงมาเหลือ 1.5 (ยกเว้นชุปเปอร์คลอรีนควรอยู่ที่ 3 PPM)2. การทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในสระ ( pH) 2.1 เติมน้ำยาหมายเลข 2 ลงไป 5 หยด แล้วเขย่า 2.2 เทียบสีที่ปรากฏออกมากับตารางสีดู ดังนี้ - ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับ 7.4-7.6 แสดงว่า ค่ากรดด่างอยู่ในระดับดี( ถ้าใช้คลอรีน 90%ควรให้อยู่ในระดับ 7.4) - ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับ 7.8 แสดงว่า ค่าความเป็นด่างสูงไปควรเติม กรดเกลือ 35% 1.2 กก ทิ้งไว้สัก 2 ชม. เช็คค่า พี.เอช. อีกครั้ง หากยังสูงให้เติมอีก 1 กก เช็คดูจนกว่า พี.เอช. จะลงมาที่ 7.4- 7.62.3 ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 7.0 แสดงว่า ค่าความเป็นกรดสูงไปควรเติมโซดาแอช 1-2 กก ทิ้งไว้สัก 2 ชม. เช็คดู หากยังไม่ได้เติมโซดาแอชจนกว่า พี.เอช. จะอยู่ที่7.4 ปัญหาของน้ำและสภาพน้ำในสระ
ปัญหาน้ำ1. ในน้ำมีสารส้มละลายอยู่มาก สีของน้ำจะปรากฏดังนี้ 1.1 แดงน้ำตาล น้ำมีสนิมมาก 1.2 เขียวฟ้า น้ำมีคอปเปอร์ (COPPER) 1.3 ดำน้ำตาล น้ำมีแมงกานีสสภาพน้ำข้างต้นนี้จะพบตอนลงน้ำใหม่หรือเปลี่ยนในสระใหม่วิธีแก้ไข 1. เติมโซดาแอชให้ค่า พี.เอช. อยู่ที่ 8 PPM 2. เติมสารส้ม ( 1กก ต่อน้ำ 40 คิว) 3. หมุน MULTIPORT VALVE ไปที่ RECIRCULATE เปิดปั๊มไว้ 2 ชม. 4. หากเป็นเครื่องกรอง D.E. ให้ยกแผ่นกรองออกให้หมดก่อนที่จะเปิดปั๊ม 5. ใช้ไม้หรือคนลงไปตี 1 ชม. เมื่อตีแล้วปล่อยไว้ 8-10 ชม. จะเริ่มตกตะกอน 6. ดูดน้ำทิ้งไป โดยเปิด MULTIPORT VALVE ไปที่ WASTE จะต้องค่อยๆดูดเพื่อมิให้ตะกอนพุ่งหรือลอยตัว แต่อย่าช้าเพราะจะเสียน้ำมาก 7. ชุปเปอร์คลอรีนให้อยู่ 3-4 PPM 8. เปิดเครื่องกรองเดิน 16 ชม. หรือจนกว่าน้ำจะใส ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน 9. หากมีตะกอนตกค้างอยู่มากให้ดูดทิ้ง หากตะกอนตกน้อยให้ดูดผ่านเครื่องกรองได้เลย แล้วถอดแผ่นกรองออกมาล้าง2. สภาพน้ำขุ่นเขียว เนื่องจากมี COPPER ในน้ำมากหรือเกิดตะใคร่ ตะใคร่เขียวหรือตะใคร่เกิดใหม่วิธีแก้ไข
1. แก้ไขโดย ลงสารส้มเหมือนข้อ 1 2. เมื่อดูดตะกอนทิ้งแล้วให้ขัดกระเบื้องขอบสระโดยเฉพาะช่วงที่มีตะใคร่น้ำต้องขัดจนกว่าตะใคร่จะหมด 3. ชุปเปอร์คลอรีน 3 วัน ติดต่อกันให้สูงกว่า 3.53. สภาพน้ำเขียวใส เนื่องจากการใส่คลอรีนมากเกินไป เพราะในสระไม่มีคลอรีน คลอรีนจะไปทำปฏิกริยากับตะใคร่น้ำทำให้น้ำเขียวใสทันทีวิธีแก้ไข 1. ถอดแผ่นกรองออกมาล้าง หรือเบรควอสกราย 2. เติมน้ำลงในสระ จนกว่าคลอรีนจะลดลง 3. เปิดเครื่องเดินตลอด4. จุดดำหรือตะใคร่น้ำ คือตะใคร่ที่เกิดขึ้นนานและตาย วิธีแก้ไข 1. ชุปเปอร์คลอรีนติดต่อกัน 3 วัน ให้คลอรีนอยู่ที่ 3.5 PPM2. ขัดตะใคร่ออกให้หมดและกวาดลงตรงท่อ MAINDRAIN5. การระคายหรือเคืองตา แสบตาสาเหตุเกิดจาก- คลอรีนไม่เพียงพอ ( คลอรีนต่ำ)- พี.เอช. อ่านไม่ได้ค่าคือสูงหรือต่ำกว่าเครื่องวัด วิธีแก้ไข 1. ชุปเปอร์คลอรีนอยู่ที่ 3 2. ปรับค่า พี.เอช. ให้อยู่ 7.4-7.66. น้ำขุ่น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ - ระบบการกรอง - พี.เอช. สูงหรือค่าความเป็นด่างมาก - หินปูนมาก - ตะกอนมาก - ตะใคร่เกิดวิธีแก้ไข 1. ล้างเครื่องกรองให้สะอาด 2. เติมกรดเกลือ 35% ปรับค่า พี.เอช. ให้อยู่ 7.4 - 7.6 3. เติมคลอรีน 90% แทนคลอรีน 60% 4. เติมสารส้มและดูดตะกอนตามข้อ 15. ชุปเปอร์คลอรีนให้

ข้อดีของระบบเกลือ

กี่ยวกับระบบเกลือ “วอเตอร์เมด”
สระว่ายน้ำระบบน้ำเกลือ วอเตอร์เมด ( Salt Water ) ถือว่าเป็นระบบบำบัดน้ำสำหรับสระว่ายน้ำที่ดีที่สุดในขณะนี้ ทำงานโดยการใช้น้ำเกลือ ธรรมชาติ ( NaCI = Sodium Chloride) มาผ่านขบวนการ ELECTROLYTIC PROCESS ของเครื่อง SALTCHLORINATOR มาทำการฆ่าเชื้อโรคในน้ำโดยเกิด SODIUM HYPOCHLORITE และ SODIUM CHLORIDE (NaCI) ซึ่งเป็นเกลือธรรมชาติดังเดิม และน้ำเกลือจะไม่สูญหายไปเมื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคแล้ว ผู้ดูแลสระจะวัดค่ากรดด่างของน้ำเกลือ และเติมเกลือ หรือกรดอย่างอ่อนเพื่อให้น้ำในสระอยู่ในค่า PH เป็นกลางความเค็มของน้ำเกลือในสระจะเค็มเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำตามนุษย์เท่านั้น จึงไม่ระคายเคืองต่อตา ผิวหนัง หรือก่อให้เกิดการรำคาญแก่ผู้ใช้สระแต่อย่างใดสระว่ายน้ำระบบน้ำเกลือ นับว่าเป็นระบบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและยังเพิ่มความชุ่มชื่น แก่ผิวหนังได้ดีอีกด้วย (MILD SALT WATER HAS THERAPEUTIC BENEFITS.)

ข้อดีของสระว่ายน้ำระบบเกลือ “วอเตอร์เมด”
ระบบเกลือ “วอเตอร์เมด” มีข้อดีมากมายกว่าระบบที่เติมคลอรีนและระบบฉีดโอโซน ดังนี้
วอเตอร์เมด ช่วยให้คุณประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องซื้อและเติมคลอรีนอีกรวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการค่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำได้เป็นอย่างมาก
วอเตอร์เมด ผลิตคลอรีนบริสุทธิ์ตลอดเวลาให้กับสระว่ายน้ำโดยมีค่าใช้จ่ายเพียง 1/6 ของค่าใช้จ่ายคลอรีนแบบน้ำ แบบผงหรือแบบก้อน
วอเตอร์เมด ลดขั้นตอนในการสั่งซื้อคลอรีนและขั้นตอนในการเติมคลอรีน ประหยัดค่าแรงงานในการดูแลสระว่ายน้ำ
วอเตอร์เมด ลดอันตรายในการจัดเก็บและขนย้ายคลอรีน ปลอดภัยสำหรับครอบครัวคุณและเด็กเล็ก
วอเตอร์เมด ไม่ต้องใช้คลอรีนช่วยบำบัดน้ำหรือฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำและไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใดๆในการติดตั้ง สามารถใช้ได้กับสระเก่าและสระสร้างใหม่ ติดตั้งง่ายโดยไม่มีผลกระทบใดๆกับอุปกรณ์สระว่ายน้ำอื่น
วอเตอร์เมด ผลิตคลอรีนบริสุทธิ์ด้วยตัวเองให้กับสระว่ายน้ำท่าน ช่วยให้ท่านมีเวลาว่างมากขึ้นไม่ต้องตรวจเช็คบ่อย
วอเตอร์เมด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่สกปรกเจือปนในสระว่ายน้ำ ขณะที่ระบบคลอรีนมีสารเจือปนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ระบบน้ำเกลือวอเตอร์เมด อ่อนโยน ไม่ฉุน ไม่มีกลิ่นรุนแรงเหมือนคลอรีนช่วยรักษาป้องกันและรักษาสุขภาพ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียพบว่า “น้ำเกลือช่วยลดสาเหตุการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กเล็กได้ดีกว่าน้ำประปา”
ระบบเกลือวอเตอร์เมด ไม่ทำให้แสบตาหรือตาแดง เส้นผมแห้งแข็ง และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง นักว่ายน้ำทั่วโลกทราบเป็นอย่างดีว่าน้ำเกลือดีต่อสุขภาพอีกทั้งช่วยป้องกันฟันผุอีกด้วย อีกทั้งช่วยรักษาชุดว่ายน้ำไม่ให้ซีดอีกด้วย
ผู้ที่มีอาการแพ้คลอรีนสามารถว่ายน้ำในสระได้ตลอดเวลาด้วยระบบเกลือ “วอเตอร์เมด” รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดและภูมิแพ้ด้วย เพราะคลอรีนจากเกลือบริสุทธิ์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น
ช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ลดการนำเข้าคลอรีนซึ่งมีราคาแพง ส่งเสริมการใช้เกลือซึ่งผลิตเองได้ในประเทศ
ระบบเกลือวอเตอร์เมด ไม่ทำให้กระเบื้องหรือปูนยาแนวสึกกร่อนและไม่ทำให้อุปกรณ์สระว่ายน้ำอื่นๆเสียหายอีกด้วย

เปรียบเทียบสระว่ายน้ำระบบน้ำเกลือ กับ ระบบคลอรีน
สระว่ายน้ำระบบน้ำเกลือ
สระว่ายน้ำระบบคลอรีน
1) ใช้เกลือธรรมชาติในการบำบัดน้ำในสระ
1 ) ใช้คลอรีนในการบำบัดน้ำในสระ
2 ) มีความเค็มเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำตาคนเท่านั้น
2) ทำให้มีคลอรีนหลงเหลือ ในสระว่ายน้ำ ซึ่งอาจไม่ปลอดภัย ต่อร่างกาย
3) เกลือ ( NaCI ) ไม่สูญหายไปไหนนำมาใช้ใหม่ตลอด เวลา จะหายไปกับการละลายในน้ำที่เพิ่มขึ้น เช่น น้ำฝน หรือน้ำที่กระเพื่อมออกจากสระว่ายน้ำเท่านั้น
3 ) ต้องคอยตรวจปริมาณของ คลอรีนอยู่ตลอดเวลา
4)สามารถควบคุมการฆ่าเชื้อโรคในสระได้ตลอดเวลา โดยการละลายเกลือให้เป็น Sodium hypochlorite 10 % ( NaCI – electrolytic process – sodium hypochlorite ) ซึ่งมีความเค็มเพียงครึ่งหนึ่ง ของความเค็มน้ำตาคนเท่านั้น
4) ถ้าปริมาณคลอรีนไม่เพียงพอใน การฆ่าเชื้อโรคทำให้เกิด อันตรายต่อร่างกายได้
5) ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ไม่มีกลิ่น และยังช่วยทำให้ ผิวหนังชุ่มชื้น
5) มีผลข้างเคียงจากคุณสมบัติของ คลอรีน เช่น ตาแดงจากสารเคมี ผิวหนังแห้ง ลอก หรือเป็นผื่นแดง ผมเสีย เป็นต้น

ระบบการบำบัดน้ำ นั้นมี 3 ระบบ อีกระบบคือระบบโอโซน ซึ่งเป็นตัวฆ่าเชื้อโรคที่มีศักยภาพสูงมาก แต่เมื่อน้ำที่ผ่านโอโซนได้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคเรียบร้อยแล้ว น้ำที่สะอาดจะลงสู่สระว่ายน้ำ และในขณะที่น้ำอยู่ในสระประมาณ 3-6 ชั่วโมงนั้น ไม่มีอะไรไปฆ่าเชื้อโรค จนกว่าน้ำจะกลับมาผ่านโอโซนอีกครั้ง ดังนั้น เมื่อมีคนนำเชื้อโรคลงในสระว่ายน้ำ ไม่ว่าเชื้อโรคอะไร เชื้อนั้นจะอยู่ในสระปนกับน้ำ ทำให้เกิดโรคติดต่อแก่ผู้เล่นน้ำในสระเดียวกันได้ ซึ่งเชื้อโรคนั้นจะต้องผ่านเครื่องฉีดโอโซนอีกครั้ง เชื้อโรคจึงจะถูกทำลาย ซึ่งบางประเทศจึงมีกฎหมายสำหรับสระว่ายน้ำสาธารณะ ห้ามใช้ระบบโอโซนอย่างเดียว ต้องควบคู่กับระบบอื่น ( เช่น ใช้คลอรีน หรือน้ำเกลือ ) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ เพราะฉะนั้น ระบบบำบัดน้ำที่ดีที่สุดในโลกขณะนี้ คือระบบน้ำเกลือ ระบบบำบัดน้ำปัจจุบันสำหรับสระว่ายน้ำตามคลับเฮ้าส์,โรงเรียน,โรงแรมและรีสอร์ท
ทำไมสระว่ายน้ำส่วนใหญ่ในโลกใช้ระบบเกลือ “วอเตอร์เมด”
· Mr. Ted Romer คือผู้คิดค้นระบบเกลือ “วอเตอร์เมด” สำหรับสระว่ายน้ำ เจ้าแรกของโลกในปี 1960
· “วอเตอร์เมด” ผลิตและจำหน่ายระบบเกลือสำหรับสระว่ายน้ำ ตั้งแต่ปี เป็นเจ้าแรกในออสเตรเลียในปี 1971
· “วอเตอร์เมด” เป็นระบบที่ประหยัดและคุ้มค่า ใช้ได้กับปริมาณน้ำถึง 150 คิว สามารถผลิตคลอรีนได้วันละ 720 กรัม/วัน
· ออกแบบเซลล์ให้สามารถทำความสะอาดด้วยตัวเอง มีอายุการใช้งานยาวนาน ง่ายต่อการติดตั้งและใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่ายี่ห้ออื่น สามารถติดตั่งเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง
· ออกแบบตู้ควบคุมให้มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องตลอดเวลา ใช้งานง่าย
· ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเซลล์ต่ำมีอายุการช้งานยาวนานเฉลี่ยโดยทั่วไป 5-10 ปีขณะที่ยี่ห้ออื่น 2-3 ปี
· ได้มาตรฐานความปลอดภัยจากทั่วโลก และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆเพิ่มอีก
· รับประกันยาวนานกว่า พร้อมบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน มี CALL SERVICE 24 ชั่วโมง
· มีจำหน่ายทั่วโลกอาทิ อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ สเปน ไซปรัส อิตาลี แอฟริกาใต้ ฯลฯ

ข้อมูลเปรียบเทียบระบบเกลือ “วอเตอร์เมด” กับยี่ห้ออื่น


ยี่ห้อ

รุ่น
ค่าความเค็มที่ต้องการ
PPM
การทำความสะอาด
การผลิตคลอรีน
Kg./day
กระแสไฟฟ้า
ขนาดเนื้อที่ท่อที่ติดตั้ง
ระบบป้องกัน
ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเซลล์
อายุเซลล์
การรับประกัน
ปี
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่อ 10 ปี
Chloromatic
ESC48
4000
ล้างด้วยกรดและสายยางฉีด
N/A
N/A
N/A

15,000 บาท/ 2 ปี
1

75,000 บาท
Clearwater(Zodiac)
LM2
4000
ล้างด้วยกรดและสายยางฉีด
0.43
16 โวลท์/9แอมป์
21 ซม.
มี
15,000 บาท/ 5 ปี
1

30,000 บาท
Pool Pilot
SC48
3200
ล้างด้วยกรดและสายยางฉีด
0.82
N/A

มี
20,000 บาท/ 2 ปี
1
100,000 บาท
Hayward Aquarite
AQ-RITE
3200
ล้างด้วยกรดและสายยางฉีด
0.44
25 โวลท์/8แอมป์
37 ซม.
ไม่มี
15,000 บาท/ 1.5 ปี
1
100,000 บาท
Poolrite
Surechlor
6000
ล้างด้วยกรดและสายยางฉีด
N/A
10 โวลท์/30แอมป์


15,000 บาท/ 2 ปี
1

Davey
SC9T
3000-4000
ล้างด้วยกรดและสายยางฉีด
N/A
10 โวลท์/30แอมป์


15,000 บาท/ 2 ปี
1

Watermaid
WM10 QT300
6000 สามารถทำงานได้ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป
ทำความสะอาดด้วยตัวเอง
0.69
10 โวลท์/30แอมป์
8.25 ซม.
มี
10,000 บาท/ 5-10 ปี
2
10,000 บาท
วอเตอร์เมดสามารถผลิตคลอรีนได้เทียบเท่าคลอรีนชนิดน้ำและเม็ดตารางด้านล่าง
วอเตอร์เมดผลิตปริมาณ
100%ของคลอรีน
คลอรีนน้ำผลิตปริมาณ12.5% ของคลอรีน
คลอรีนเม็ดผลิตปริมาณ 65% ของคลอรีน
30.5 กรัม / ชั่วโมง
230.32 มิลลิลิตร / ชั่วโมง
45.93 กรัม / ชั่วโมง
721.22 กรัม / 24 ชั่วโมง
5.75 ลิตร / 24 ชั่วโมง
1.12 กิโลกรัม / 24 ชั่วโมง
5 กิโลกรัม / 7 วัน
40.26 ลิตร / 7 วัน
7.7 กิโลกรัม / 7 วัน

ตัวอย่างลูกค้าที่ใช้ได้แก่ โรงแรม ชีวาศรม เฮลท์รีสอร์ทแอนด์สปา หัวหิน, โรงแรมสายลม หัวหิน, โครงการทรอปิคอลซีวิว ปราณบุรี, โครงการดุสิตแลนด์ หัวหิน, สโมสรบ้านสีวลีรังสิตโครงการ 2, โครงการเค.เอ็ม.พร็อพเพอร์ตี้, จินตคีรีรีสอร์ท เกาะเต่า, โรงแรมเอวาซอนรีสอร์ทแอนด์สปา ปราณบุรี, โรงเรียนอนุบาลจินดามณี กรุงเทพ, โรงเรียนทาเล้นท์อินเตอร์เนชั่นแนล พรีสคูล กรุงเทพ, โรงแรมอมันบุรี ภูเก็ต, โรงแรมวนธารารีสอร์ท เฮลท์แอนด์สปา พิษณุโลก, โรงแรมอ่าวนางปรินซ์วิลล์ กระบี่บ้านบายันวิลล่า ภูเก็ต, สระบ้านนายแพทย์ ณัฐกิจ จันทวงศาทร แพร่ และ สระบ้านนายแพทย์ วิเชียร ว่องวงศ์ศรี กรุงเทพ เป็นต้น
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ คุณสุกมล มือถือ 084 320 1001 อีเมลล์ info@watermaid-thai.com

การดูแลรักษาสระว่ายน้ำ

ระบบการหมุนเวียนของสระน้ำ

การหมุนเวียนของน้ำในระบบสระน้ำสามารถทำได้ 2 วิธี ด้วยกัน คือ
วิธีที่ 1 ปั๊มจะดูดน้ำจากถังสำรองน้ำ ( SURGE TANK ) ผ่านเครื่องกรองแล้วจ่ายกลับไปสระที่ท่อ
FLOOR INLET / WALL INLET
วิธีที่ 2 ปั๊มจะดูดน้ำจากท่อพื้นสระ ( MAINDRAIN ) ผ่านเครื่องกรองแล้วจ่ายกลับไปสระที่ท่อ
FLOOR INLET / WALL INLET
ในวิธีที่ 2 นั้นส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ SURGE TANK เช่นSURGE TANK รั่ว , กำลังทำการล้าง เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้วิธีที่ 1 ในการกรองน้ำตามปกติ
การที่จะรักษาคุณภาพของน้ำในสระน้ำให้ใสสระอาดอยู่เสมอนั้น จะต้องพยายยามรักษาค่าpH ให้อยู่ใน ระหว่าง 7.2-7.6 และปริมาณ CHLORINE ในน้ำให้อยู่ระหว่าง 1.0-1.5 PPM.(mg/1) เหตุผลสำคัญที่ต้องควบคุมค่า pH และ ค่า CHLORINE นั้นเพราะ
- ถ้าน้ำมีสภาพเป็นกรด คือ ค่า pH ต่ำกว่า 7.2 ( น้ำในสระยังคงใส ) ซึ่งจะมีผลทำให้ โลหะผุกร่อน , อายุการใช้งานของแผ่นกรอง / ทรายกรอง จะน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ลงเล่นน้ำในสระ จะรู้สึกแสบตา , คันตามร่างกาย , ฟันผุกร่อน , และอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาและฟันได้ถ้าหาก pH ต่ำกว่า 5.0
- ถ้าน้ำมีสภาพเป็นด่าง คือ ค่า pH สูงกว่า 7.6 น้ำจะค่อนข้างขุ่นมัว เนื่องจากมีแร่ธาตุบางตัวตกตะกอนในสภาพของน้ำที่มีความป็นด่าง โดยจะมีหินปูนเกาะที่พื้อนและผนังสระและคนที่ลงเล่นน้ำจะรู้สึกเหนียวตัว
- ถ้าปริมาณคลอรีนในน้ำมีน้อยจะทำให้น้ำสกปรก เกิดตะไคร่น้ำและมีเชื้อแบคทีเรียซึ่งบางชนิดไม่ตาย หากปริมาณคลอรีนน้อยเกินไป ซึ่งหากคนที่ลงเล่นน้ำ และทานน้ำเข้าไป อาจจะทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้





การตรวจเช็คประจำวันของสระน้ำ

ในแต่ละวันควรจะมีการดูแลสระน้ำของท่าน อย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถ
แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที โดยสามารถตรวจเช็คส่วนต่างๆได้ ดังนี้

1. ทดสอบค่า Br, Cl, pH ตอนเช้า 1 ครั้ง และก่อนปิดสระอีก 1 ครั้ง พร้อมปรับแต่ง คุณภาพของน้ำและเติมสารเคมีที่ขาดทันที
2. เช็คระดับน้ำในถังสำรองน้ำ SURGE TANK ให้มีเพียงพอตลอดเวลาพร้อมที่จะเดินเครื่องระบบกรอง ( ประมาณ 1 / 2 ของ TANK )
3. เช็คความดันที่เกจวัดความดันของเครื่องกรองว่าถึงเวลาล้างเครื่องกรองแล้วหรือยังพร้อมทั้งให้เปิดวาล็วไล่อากาศที่เครื่องกรอง ( AIR RELIEF VALVE )
4. ดูดตะกอนพื้นสระทำความสะอาดบริเวณสระน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสระ
5. เดินเครื่องระบบกรองตามตารางเวลา
6. ตรวจตำแหน่ง เปิด – ปิด ของวาล์วในห้องเครื่องให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และอยู่ในสภาพที่ปกติ
7. ตรวจเช็คสารเคมีให้มีสำรองไว้ใช้อย่างพอเพียง


















การทำงานของระบบกรองน้ำ

การทำงงานของระบบกรองน้ำ จะชัการควบคุมน้ำจาก PUMP ก่อนเข้าเครื่องกรองได้
2 แบบหลัก ๆ คือ
1 ). แบบใช้ VARI-FLO CONTROL VALVE FUNCTIONS
2 ). แบบใช้ VALVE ควบคุม (BALL- VALVE , GATE VALVE etc.)

1 ). VARI-FLO CONTROL VALVE FUNCTIONS
เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกำหนดการจ่ายน้ำ เข้า – ออก ของเครื่องกรองซึ่งสามารถใช้ได้กับเครื่องกรองแบบ D.E. FILTER โดยได้แยกลักษณะการทำงานต่าง ๆ ออกเป็น 6FUNCTIONS และใช้พนักงานที่ดูแลเป็นผู้เลือกหรือกำหนดการทำงานของแต่ละช่อง ดังนี้
1. FILTER สำหรับ การกรองน้ำและการดูดตะกอนโดยผ่านระบบการกรอง
น้ำตามปกติ
2. BACKWASH สำหรับ การทำความสะอาดเครื่องกรองด้วยการระบายตะกอน
ในเครื่องกรองออกโดยการให้น้ำไหลย้อยกลับกันจากปกติ
3. RINSE สำหรับ ให้น้ำผ่านระบบกรองแล้วปล่อยออกที่ท่อน้ำทิ้ง ใช้
ภายหลังจาก BACKWASH เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำที่สกปรก
ทั้งหมดถูกชำระล้างออกจากเครื่องกรองทางท่อน้ำทิ้งแล้ว
4. WASTE สำหรับ ปล่อยน้ำทิ้งโดยไม่ผ่านเครื่องกรอง
5. RECIRCULATE สำหรับ การหมุนวียนของน้ำผ่านหัวคอนโทรลแล้วกลับไปสระ
โดยไม่ผ่านเครื่องกรอง
6. CLOSED สำหรับ ปิดการไหลของน้ำจากปั๊มเข้าเครื่องกรอง

2 ). VALVE ควบคุม
โดยทั่วไป VALVE ที่ใช้ในระบบ มีหลายแบบด้วยกัน เช่น BALL- VALVE , GATE VALVE , BUTTERFLY VALVE เป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง VALVE นี้จะทำหน้าที่กำหนดการจ่ายน้ำ เข้า – ออก ของเครื่องกรองโดยพนักงานที่ดูแลเป็นผู้เปิด – ปิด VALVE




การเดินเครื่องกรอง

1. เปิดฝาเครื่องกรองออกเดินผงกรองตามปริมาณที่กำหนด แล้วปิดฝาเครื่องกรอง
2. เช็คตำแหน่งของ VALVE ให้ถูกต้อง ดังนี้
- ปิด VALVE MAINDRAIN ทั้งหมด
- ปิด VALVE VACUUM ทั้งหมด
- เปิด VALVE SURGE TANK ทั้งหมด
- เปิด VALVE หน้าปั๊ม – หลังปั๊ม ทั้งหมด
- เปิด VALVE POOL INLET ทั้งหมด
3. เช็คตำแหน่งของ VARI-FLO CONTROL VALVE
- หมุนให้ลูกศรชี้ในตำแหน่ง FILTER
4. เปิดฝา STRAINER กรอกน้ำให้เต็ม STRAINER หรือเปิด VALVE ประปา ดูจน เต็มแล้วปิดฝาSTRAINER ปิด VALVE ประปา
5. เดินปั๊มพร้อมเปิด VALVE ไล่อากาศที่เครื่องกรอง โดยสังเกตุให้มีลมพุ่งออกมาแสดงว่าปั๊มดูดน้ำขึ้น ถ้าไม่มีลมพุ่งออกมา แสดงว่าปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ให้ทำตามข้อ 4.อีกครั้ง และเปิด VALVE ประปาช่วยรอจนมีน้ำพุ่งออกมาจากที่ไล่อากาศแล้วปิดVALVE ประปา
6. ถ้าเปิด VALVE ประปาแล้วปั๊มยังดูดน้ำไม่ขึ้นให้ตรวจหาสาเหตุ อย่าปล่อยให้ปั๊มเดินโดยไม่มีน้ำเด็ดขาด
7. เมื่อเดินปั๊มไล่อากาศที่เครื่องกรองแล้ว สังเกตุที่เกจวัดความดันจะขึ้นประมาณ5 – 10 Psi แสดงว่าเครื่องกรองมีพื้นที่การกรองมาก และอัตราการไหลของน้ำที่ผ่านการกรองอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เมื่อเราเดินเครื่องกรองใช้งานทุกวัน สิ่งสกปรกจะมาสะสมที่เครื่องกรองมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อความดัน ที่เกจสูงขึ้นจนถึงประมาณ 20 PSI แสดงว่าพื้นที่ในการกรองลดน้อยลงมากซึ่งทำให้น้ำไหลผ่านได้น้อย สมควรที่จะต้องทำการล้างเครื่องกรองโดยทันที
8. ระบบปั๊มของเครื่องกรองจะต้องทำงานอย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง โดยจะแบ่งช่วงทำงาน และช่วงพัก ประมาณ 2 – 3 ครั้ง ตัวอย่าง เช่น
8.00 น. เดินปั๊ม - 12.00 น. หยุดปั๊ม
15.00 น. เดินปั๊ม - 20.00 น. หยุดปั๊ม
9. การหยุดปั๊ม หมายถึง หยุดทั้งระบบ โดยปั๊มของระบบกรองจะหยุดการทำงานทุกตัวจุดมุ่งหมายที่ให้หยุดคือ การพักเครื่องกรอง เพราะเมื่อเราหยุดพักปั๊มทั้งหมด สิ่งสกปรกที่จับที่แผ่นกรองจะคลายตัวลงจากแผ่นกรอง ทำให้เกิดการเรียงตัวของผงกรองใหม่ เมื่อเริ่มเดินปั๊มในครั้งต่อไป ให้สังเกตุที่เกจวัดความดันจะลดลง ทำให้เราให้ผงกรองได้นานขึ้น
การทำความสะอาดสระน้ำ

การทำความสระอาดสระ หมายถึง การกระทำการใด ๆ เพื่อให้น้ำในสระสะอาดโยการดูดตะกอน , ขัดสระ รวมถึงการปรับสะภาพน้ำ ตรวจเช็ค pH และ Cl
ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ด้วยกันคือ
1. การทำความสะอาดโดยใช้ชุดดูดตะกอน ให้ปฏิบัติดังนี้
1.1 เปิดฝาท่อดูดตะกอน ( VACUUM FITTING )
1.2 เปิดวาล์วดูดตะกอน ( VALVE VACUUM )
1.3 ปิดวาล์วถังพักน้ำ ( VALVE SURGE TANK )
1.4 ประกอบชุดดูดตะกอน ( หัวดูด, สายดูด, ด้ามดูด ) ใส่ลงในสระ และกรอกน้ำให้เต็มสายแล้วสวมเข้าไปในตำแหน่งท่อดูดตะกอน ( VACUUM FITTING )
1.5 ดูดตะกอนจนกระทั่งสายดูดไม่สามารถดูดถึงบริเวณอื่น ให้เปลี่ยนตำแหน่งของที่สวมสายดูด โดยถอดสายดูดออกจากตำแหน่งที่เสียบไว้เดิมก่อน และให้เปิดฝาดูดตะกอนอีกฝาที่จะใช้และปิดฝาเดิมที่ไม่ได้ใช้
1.6 เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วให้ไปเปิดวาล์วถังพักน้ำ และปิดวาล์วดูดตะกอน
1.7 เดินเครื่องกรองตามปกติ
2. การทำความสะอาดด้วยชุดทำความสะอาด
- แปรงไนล่อน ใช้สำหรับถูกระเบื้องที่สกปรกหรือมีตะไคร่เกาะอยู่
- แปรงถูตะไคร่ ใช้สำหรับถูตามแนวร่องกระเบื้องที่มีตะไคร่จับโดยก่อนที่จะทำการขัดตะไคร่นั้น ควรจะใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้นประมาณ 3 – 5 PPM( SUPER CHLORINE ) ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงใช้แปรงถูตะไคร่ที่มีขนแปรงเป็นSTANLESS STELL ขัดออก
ในกรณีที่เกิดปัญหาน้ำในสระเสียขึ้นมา ควรจะตรวจสอบค่า pH และปรับสภาพน้ำให้ได้ค่า pH ตามกำหนด แล้วใส่คลอรีนลงไปให้มากขึ้น หรือประมาณ 3 – 5 PPM เดินเครื่องกรองให้นานมากขึ้น ถ้าเครื่องกรองสกปรกต้องรีบทำการล้างเครื่องกรอง เพื่อเครื่องกรองจะได้ทำงานได้เต็มที่และช่วยให้น้ำใสเร็วขึ้นนอกจากนั้นยังอาจจะใส่น้ำยากันตะไคร่เพื่อช่วยให้ใสเร็วขึ้นอีกด้วยแต่ต้องปรับ pH ให้อยู่ระหว่าง 7.2 -7.6 และห้ามนำน้ำยากันตะไคร่ไปผสมกับน้ำยาเคมีอื่น ๆ ก่อนใส่ลงในสระน้ำ





การล้างเครื่องกรองทราย SAND FILTER

1. ให้ปิดปั๊มระบบกรอง
2. ให้ตรวจดูระดับน้ำใน SURGE TANK ว่ามีน้ำเพียวพอต่อการล้างเครื่องกรองหรือไม่
3. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง BACKWASH
4. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการ BACKWASH โดยใช้เวลาประมาณ 2 – 3 นาที หรือจนน้ำที่ปล่อยออกทางท่อน้ำทิ้งค่อนข้างใส โดยให้สังเกตุที่หลอดแก้ว ( SIGHT GLASS ) ข้างVARI-FLO VALVE
5. หลังจากที่น้ำทิ้งค่อนข้างใส ให้ปิดสวิทซ์ปั๊ม
6. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง RINSE
7. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการ RINSE โดยใช้เวลาประมาณ 10 – 30 นาที
8. ตรวจเช็คน้ำทิ้งที่หลอดแก้ว เมื่อค่อนข้างใสให้ปิดสวิทซ์ปั๊ม
9. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง FILTER
10. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการเดินเครื่องกรองตามปกติ


















การล้างเครื่องกรอง D.E. FILTER

การล้างเครื่องกรองให้สังเกตุที่เกจวัดความดันของเครื่องกรอง ถ้าเข้มขึ้นมาถึงประมาณ 15 – 20 Psi ให้ทำการ BACKWASH ตามขั้นตอน และเมื่อใช้เครื่องกรองเป็นระยะเวลาประมาณ 5 – 6 เดือน ให้ถอดเครื่องกรองเพื่อเอาแผ่นกรองออกมาล้าง ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

การ BACKWASH (D.E. FILTER)
1. ปิดปั๊มระบบกรอง
2. ให้ตรวจดูระดับน้ำใน SURGE TANK ให้มีน้ำเพียงพอต่อการล้างเครื่องกรอง( 3/4 ’’ TANK )
3. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง BACKWASH
4. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการ BACKWASH โดยเวลาในการ BACKWASH ประมาณ 1 – 2 นาที หรือจนน้ำใส โดยสังเกตุที่ SIGHT GLASS
5. เมื่อ BACKWASH เสร็จแล้วให้ปิดสวิทซ์ปั๊ม แล้วหมุน VARI-FLO VALVE ไปที่
ตำแหน่ง FILTER
6. เติมผงกรองแต่ละเครื่องในปริมาณที่กำหนดโดยใส่ที่ช่องที่ทำไว้
7. เปิดสวิทซ์ปั๊มระบบกรองเดินตามปกติ

การถอดแผ่นกรองออกมาล้าง ( D.E. FILTER )
1. ปิดวาล์วน้ำเข้าและวาล์วน้ำออกพร้อมทั้งเปิดวาล์วไล่อากาศ ( AIR RELIEF – VALVE ) และหมุน VARI-FLO VALVE ไปตำแหน่ง BACKWASH หรือเปิดวาล์วน้ำทิ้งจากเครื่องกรอง
2. ใช้เครื่องมือเปิดเอาฝาเครื่องกรองออก เอาแผ่นกรองออกมาล้างโดยฉีดน้ำให้สะอาด
3. ประกอบแผ่นกรองให้เข้าที่เดิม
4. ใส่ผงกรองตามปริมาณที่กำหนด
5. เปิดวาล์วน้ำเข้าและวาล์วน้ำออก ปิดวาล์วน้ำทิ้งจากเครื่องกรอง หรือหมุนVARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง FILTER






การใช้ชุดทดลองน้ำ ( TEST KIT )

1. เอาน้ำใส่ในหลอดทดลองถึงขีดที่กำหนด (นำน้ำในสระที่ความลึกไม่น้อยกว่า 18 นิ้วจากผิวน้ำ)
2. หยดน้ำยา OTO ในหลอดที่เช็คคลอรีน (Cl ) 5 หยด
3. หยดน้ำยา PHENOL – RED ในหลอดที่เช็คความเป็นกรด – ด่าง ( pH ) 5 หยด
4. ปิดฝาและเขย่า
5. เทียบระดับสีในหลอด กับ แถบสีด้านข้าง แล้วอ่านค่า
6. ปริมาณคลอรีนในสระควรมีประมาณ 1.0 – 1.5 PPM (mg/1)
7. ค่า pH จะต้องอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6 ซึ่งค่า pH จะบ่งบอกสถานภาพของน้ำว่ามีความเป็นกรด หรือ ด่าง
8. ถ้าปริมาณคลอรีนต่ำให้เติมคลอรีนประมาณ 3 กรัมต่อปริมาณน้ำ 1 ม3
9. ถ้าปริมาณคลอรีนในสระมากให้เติมน้ำในสระหรือปล่อยทิ้งไว้คลอรีนจะจางเอง
10. ถ้า pH ต่ำกว่า 7.2 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นกรดให้ใส่โซดาแอซลงไปครั้งละประมาณ 30 กรัม ต่อปริมาณ น้ำ 1 ม3 โดยนำโซดาแอซละลายในถังน้ำก่อน แล้วเทใส่ในสระและเช็คค่า pH อีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
11. ถ้า pH สูงกว่า 7.6 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นด่างให้ใส่กรดแห้ง / กรดเกลือ ที่ใช้สำหรับสระน้ำ ใส่ไปครั้งละไม่เกิน 20 กรัมต่อน้ำ 1 ม3 และเช็คอีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
12. ถ้าค่า pH ไม่ดีขึ้นควรเติมเคมีเพื่อปรับสภาพน้ำตามข้างต้นอีก และเช็คค่า pH อีกครั้ง ทำดังนี้จนได้ระดับค่าที่กำหนด
หมายเหตุ น้ำยาสำหรับชุดทดลองน้ำเพื่อทดสอบ pH จะหมดอายุภายใน 6 เดือน และควรเก็บไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด









การดูแลรักษาอุปกรณ์สระน้ำ

อุปกรณ์ต่าง ๆ ของสระน้ำ ทั้งที่ติดตั้งภายในสระและรวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในห้องเครื่องกรอง ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลและรักษาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานพร้อมทั้งคงประสิทธิภาพและเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย ก็จะต้องซื้อหามาทดแทน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ในระดับหนึ่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ควรแก่การเอาใจใส่ดูแลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ ดังนี้

1). เครื่องกรองน้ำ
ควรดูแลไม่ให้น้ำหยดหรือรั่ว ถ้าซ่อมแซมได้ให้รีบซ่อมแซมอย่าทิ้งไว้นาน ซึ่งจะมีผลทำให้เสียหายมากขึ้น ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วย STAINDLESS STELL ให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้ามีคราบคล้ายสนิมเกิดขึ้นให้ใช้สก็อตไบรท์ชุบน้ำขัดจนสนิมหมด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้าเริ่มเป็นสนิมแล้วไม่ขัดออกก็จะกลายเป็นตามด ทำให้เครื่องกรองทะลุได้ ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาส หรือวัสดุใดที่ไม่ใช่โลหะให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งรวมทั้งใส่น้ำมันหล่อลื่นบริเวณน็อตและสายรัด

2). ปั๊มมอเตอร์
ควรตรวจเช็คปั๊มอย่าให้มีจุดรั่วหรือน้ำหยดเพราะเมื่อมอเตอร์ทำงานปั๊มจะดูดลมเข้าไปทำให้ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ปั๊มมอเตอร์จะร้อนทำให้ MECHANICAL SEAL ชำรุดและ ข้อต่อหน้าปั๊มหรือหลังปั๊มรั่ว ถ้าเป็นปั๊มที่ไม่ใช่โลหะ อาจทำให้อุปกรณ์ภายในร้อนจนละลายหรือตัวปั๊มเองชำรุดเสียหายได้ ถ้าการทำงานของปั๊มมอเตอร์ใช้นาฬิกาเป็นตัวควบคุมเวลาการทำงานให้หมั่นตรวจเช็ค โดยทดลองปิดปั๊มไว้สัก 30 นาที แล้วเดินปั๊มใหม่แล้วให้สังเกตุดูว่าดูดน้ำขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นต้องหาสาเหตุและรีบแก้ไข อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ตรวจดูว่าสายไฟที่ต่อเข้ากับมอเตอร์นั้นขันแน่นหรือไม่ ถ้าไม่แน่นอาจจะทำให้แผงไฟที่ตัวมอเตอร์หรือตัวมอเตอร์เองเกิดการใหม้ได้
การตรวจเช็คปั๊ม และ มอเตอร์
- ข้อต่ออยู่ในลักษณะที่ยังใช้การได้ดีหรือไม่ ถ้ารั่วให้แจ้งซ่อมโดยด่วน
- ขณะที่มอเตอร์ทำงาน ปั๊มสามารถดูดน้ำขึ้นได้หรือไม่
- เช็ดและทำความสะอาดมอเตอร์
- เอาขยะและใบไม้ออกจากตะกร้าสเตนเนอร์
- เอาจารบีใส่ที่น็อตสเตนเนอร์
- ใช้ SONAX ฉีดที CONTRACT ของ MOTOR


3). อุปกรณ์ไฟฟ้า
- ตรวจเช็คน็อตที่ยึดต่อสายไฟให้แน่น
- ตั้งนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานของปั๊มให้ตรงกับเวลาจริง
- อย่าให้มีน้ำขังในห้องเครื่องเพราะทำให้ภายในห้องเครื่องมีความชื้นสูงซึ่งจะทำให้
อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดชำรุดเสียหายได้
- ทำความสะอาดตู้ไฟ ทั้งภายในและภายนอก

4). อุปกรณ์ทำความสะอาดสระ
อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เป็นพลาสติกห้ามทิ้งตากแดดเพราะจะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุการใช้งานสั้นลงอันเนื่องมาจากแสงแดด ( ULTRAVIOLET ) เช่น สายดูดตะกอน , แปรงไนล่อน , แปรงถูตะไคร่ ฯลฯ ส่วนน้ำยาเช็คคลอรีน ( OTO ) และน้ำยาเช็คความเป็น กรด – ด่าง( PHENOL – RED) ของน้ำนั้นมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน คือควรจะเปลี่ยนน้ำยาทุก ๆ 5 เดือน เพื่อความแน่นอน

5). ห้องเครื่อง
ควรดูแลอย่าให้น้ำขัง และมีแสงสว่างเพียงพอ และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ รวมถึงมีการ
ระบายอากาศที่ดีโดยอาจจะติดพัดลมดูดอากาศเพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศได้สะดวก















วิธีการใช้เครื่องกรอง, เคมีภัณฑ์, และ การดูแลรักษาสระว่ายน้ำ

การเดินเครื่องกรองสระว่ายน้ำควนเดินอย่างน้อยวันละ 12 ชม. ในกรณีที่มีคนเล่นมากจนต้องเพิ่มจำนวนเวลาในการหมุนเวียนน้ำให้มากขึ้น เช่น 16 ชม. หรือ 18 ชม. และจะทำการล้างเครื่องมือเกจวัดความดันขึ้นไป 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยการถอดสายรัดยกเอาแผ่นกรองออกมาล้างและเปลี่ยนผงกรองใหม่ด้วย

ระบบการหมุนเวียนของสระน้ำในระบบน้ำล้น
ระบบการหมุนเวียนของสระน้ำใช้ได้ 2 ระบบ คือ
1. ดูดจากกันสระผ่านเครื่องกรองและจ่ายออกทางน้ำเข้าสระที่พื้นสระ ในสระน้ำระบบน้ำล้น
2. ดูดจากถังพักน้ำ (SURGE TANK) เข้าเครื่องกรอง และจ่ายเข้าสระทางพื้นสระในระบบที่1
นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มีปัญหาที่เกิดกับ SURGE TANK เช่น SURGE TANK รั่ว ซึ่ง
ตามปกติแล้วจะใช้ในระบบที่ 2

วิธีการล้างเครื่องกรอง
1. ปิดประตูน้ำเข้าและประตูน้ำออกพร้อมทั้งเปิด AIR RELIEF VALVE และเปิดวาล์วก้นเครื่อง
2. ใช้กุญแจหกเหลี่ยมเปิดเอาฝาหม้อกรองออกเอาแผ่นกรองออกมาล้าง โดยฉีดน้ำให้สะอาดหรือ BACKWASH
3. ใส่กลับลงไปใหม่พรร้อมทั้งเติมผงกรองลงไป 2, 2.5, 3, 4, 5.5, 7, 8.5 กก. สำหรับเครื่องกรองขนาด 16, 20, 28, 36, 48, 400 และ 600 ตามลำดับ
4. เปิดวาล์วน้ำเข้าและน้ำออก ปิดวาล์วน้ำทิ้ง
5. เดินปั๊มน้ำ, ไล่ลม, ปิด AIR RELIEF VALVE

การทำความสะอาดสระว่ายน้ำ
1. การดูดตะกอน
1. เปิดฝาที่ดูดตะกอน
2. เปิดวาล์วที่ดูดตะกอน
3. ปิดวาล์วที่ดูดจากถังพักน้ำ
4. เอาหัวดูดและสายดูดจุ่มลงในสระน้ำและกรอกน้ำให้เต็มสายแล้วสวมเข้าไปในรูสำหรับสวมสายดูด
5. ดูดตะกอนจนกระทั่งสายดูดไม่สามารถดูดบริเวณที่อื่นได้แล้ว ให้เปลี่ยนตำแหน่งของรูสายดูดออกจากรูที่เสียบไว้เดิมก่อน และไปเปิดรูดูดตะกอน อีกรูหนึ่งและถึงจะปิดรูที่ไม่ใช้
6. เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วเปิดวาล์วถังพักน้ำ ปิดวาล์วดูดตะกอน
2. การขัดสระ
แปรงที่ใช้ในการขัดสระมีอยู่ 2 ชนิด
1. แปรงไนล่อน ใช้สำหรับถูกระเบื้องที่สกปรก
2. แปรงถูตะไคร่ ใช้สำหรับถูตามแนวร่องกระเบื้องที่มีตะไคร่จับโดยก่อนที่จะทำการถูตะไคร่นั้นควรจะไล่คลอรีนให้มีประมาณ 2 – 3 PPM โดยโรยคลอรีนลงบริเวณที่มีตะไคร่ คลอรีนจะฆ่าตะไคร่ให้ตาย แล้วถึงจะใช้แปรงถูตะไคร่ขัดออก

การดูแลรักษากระดานกระโดดและบันได
1. กระดานกระโดด
1.1 ขันน็อตยึดกระดานให้แน่นอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะทำให้รูกระดานกระโดดหลวมได้
1.2 ตรวจเช็คยางรองกระดานให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ทั้งยางรองกระดานหน้าและหลัง
2. บันได
2.1 ขันขั้นบันไดและตัวบันไดให้แน่นอยู่เสมอ ถ้ามีการขยับหรือไม่แน่นจะทำให้ขั้นบันได
หักได้
2.2 ใช้สก็อตไบรต์ชุบน้ำขัดราวบันได ในกรณีที่เกิดคราบสนิมจับอยู่

วิธีการใช้เคมีของสระน้ำ
การเติมคลอรีน
คลอรีนในสระน้ำควรจะมีระหว่าง 0.8-1.0 PPM ใช้ชุดทดลองเป็นตัวเช็คดูว่าน้ำในสระน้ำมีคลอรีนเพียงพอหรือไม่ ถ้าคลอรีนมีน้อยจะทำให้น้ำเขียวเนื่องจากตะไคร่ การใส่คลอรีนนั้นควรจะใส่ตอนเย็นที่ไม่มีแดด เพราะแดดจะเป็นตัวทำให้คลอรีนระเหยเร็ว ทำให้คลอรีนสูญหายไป การตรวจสอบคลอรีนนั้นควรตรวจสอบตอนเช้าให้มีคลอรีนอยู่ 1 PPM ในกรณีที่ฝนตก แดดจัด หรือมีคนเล่นน้ำมากจะต้องเพิ่มจำนวนคลอรีนหรือในกรณีที่สระน้ำมีตะไคร่ขึ้นจะต้องใส่คลอรีนให้มากกว่าที่ใช้ประจำอยู่ประมาณ 3-4 เท่า (2-4 PPM) การเติมคลอรีนโดยตรงกับน้ำในสระว่ายน้ำ สามารถเติมได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเติมโดยใช้โรยลงในสระโดยตรง หรือว่าจะใช้เครื่องฉีดคลอรีนลงในสระว่ายน้ำ ซึ่งวิธีนี้ การหมุนเวียนของน้ำในสระจะช่วยเพิ่ม ทำให้การกระจายและการละลายสารเคมีในสระว่ายน้ำได้ทั่วถึงและสม่ำเสมอในระยะเวลาอันสั้น

ปริมาณการใช้ : ใช้ 3 กรัม / น้ำ 1 คิวบิกเมตร

การตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ
ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำควรจะเป็น 7.2 - 7.6 คือเป็นด่างเล็กน้อย
( pH = 7 หมายความว่าน้ำเป็นกลางสูงกว่า 7 เป็นด่าง, ต่ำกว่า 7 เป็นกรด ) ถ้าน้ำเป็นด่างมาก 8– 8.5
จะทำให้น้ำขุ่นเนื่อจากแร่ธาตุต่าง ๆ จะตกตะกอนและทำให้คลอรีนทำปฏิกริยาไม่ดีเท่าที่ควร วิธีแก้โดยการเติมกรดแห้งลงไปในจำนวนพอประมาณ แล้วใช้ชุดทดลองทดสอบ pH ของน้ำ ถ้าไม่พอให้ค่อย ๆ เติมทีละน้อย แต่ถ้า pH ต่ำกว่า 7 จะทำให้น้ำเป็นกรดกัดปั๊มและพวกโลหะให้ผุกร่อนได้ และสร้างความระคายเคืองแก่ผู้ว่ายน้ำ วิธีแก้โดยการเติมโซดาแอซลงไปในจำนวนที่พอประมาณ และทดสอบด้วยชุดทดลองน้ำเหมือนกับการเติมกรด จำนวนกรดแห้งและโซดาแอซที่ใส่นั้นขึ้นอยู่กับว่าจำนวนน้ำในสระ และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ของน้ำในสระนั้น การเติมสารเคมีทั้ง 2 ชนิดนั้น สามารถเติมลงไปในสระว่ายน้ำโดยตรงหรือจะเติมลงไปใน SURGE TANK ก็ได้
ดังนั้นการดูแลรักษาสระในด้านเคมี จะต้องทำการตรวจเช็คสภาพน้ำอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดปัญหาเรื่องตะไคร่น้ำและความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำไม่พอดี
หมายเหตุ น้ำยาสำหรับชุดทดลองน้ำ เพื่อทดสอบ pH จะหมดอายุภายใน 6 เดือน

วิธีการใช้ยากันตะไคร่ชนิดต่าง ๆ
ในกรณีที่จะเกิดตะไคร่น้ำดำให้ใช้ยากันตะไคร่ชนิดยากันตะไคร่น้ำดำ ( BLACK ALSGE ) ส่วนยากันตะไคร่ชนิดตะไคร่น้ำสีเขียวนั้นใช้ยากันตะไคร่ธรรมดา หรือจะใช้คลอรีนใส่ในสระน้ำให้มีจำนวนมากก็ได้แต่ต้องปรับสภาพความเป็นกรด – เป็นด่างของน้ำก่อน นอกจากนั้นยากันตะไคร่น้ำสีเขียวยังใช้ในการทำความสะอาดขัดขอบสระได้ด้วย

SWIM CHEM ALGAE – RID น้ำยากันตะไคร่ธรรมดา
น้ำยากันตะไคร่ธรรมดา สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีอื่น ในการรักษาสภาพน้ำได้โดยน้ำยากันตะไคร่ธรรมดา สามารถเติมลงในสระน้ำได้โดยตรง ห้ามผสมกับสารเคมีอื่น
น้ำยากันตะไคร่ธรรมดา ทำงานได้ดีในช่วง pH ระหว่าง 7 ถึง 7.5 ถ้า pH ต่ำกว่า 7 ให้ปรับค่า pH ขึ้น โดยเติมโซดาแอซ ถ้าค่า pH สูงกว่า 7.5 ให้ปรับค่า pH ลงโดยการเติมกรดแห้ง (โซเดียมไบซัลเฟรต) น้ำยากันตะไคร่จะไม่กัดกร่อน โลหะ และคอนกรีต



การเก็บรักษา
ควรเก็บในภาชนะที่เป็นแก้ว หรือ กระเบื้อง ปิดฝาให้แน่น และเก็บในที่เย็นและไม่มีแสงแดดและเก็บให้พ้นมือเด็ก

การกำจัดตะไคร่
เป็นน้ำยากันตะไคร่ สำหรับป้องกันตะไคร่สีเขียวและตะไคร่แกมน้ำเงิน ช่วยทำให้น้ำใส ทำความสะอาดง่าย ช่วยประหยัดปริมาณการใช้คลอรีน (ไม่แนะนำให้ใช้กับบ่อเลี้ยงปลา และบ่อบัว)

การทำให้น้ำใส
1. ล้างสระน้ำให้สะอาด และเติมน้ำสะอาดลงในสระ
2. ทำการปรับสภาพน้ำเริ่มต้นโดยปรับ pH
3. เติม SWIM CHEM ให้กระจายทั่วทั้งสระ และหมุนเวียนเข้าไปในระบบ
4. เดินเครื่องกรอง
5. เติมคลอรีนให้ได้ตามที่กำหนด
6. ทิ้งไว้ให้สิ่งสกปรกตกตะกอน (มากน้อยแล้วแต่ความสะอาดของน้ำที่เติมลงไปครั้งแรก)
7. ดูดตะกอน ทำความสะอาดสระน้ำ
8. น้ำจะใสภายใน 4 – 5 วัน

ปริมาณการเติม
เริ่มต้นใช้สระ ใช้น้ำยากันตะไคร่ 2 ลิตร ต่อน้ำ 100 m3
ทุกอาทิตย์ ใช้น้ำยากันตะไคร่ 1/4 ลิตร ต่อน้ำ 100 m3

SWIM CHEM ALGAE – RID (SPECIAL) น้ำยากันตะไคร่พิเศษ
การใช้ SWIM CHEM ALGAE – RID (SPECIAL) เหมือนกับ SWIM CHEM ALGAE – RID จะช่วยให้ประสิทธิภาพการป้องกันตะไคร่ชนิดต่าง ๆ ได้ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งตะไคร่สีดำ

การป้องกันการเกิดคราบและรอยเปื้อน
รอยคราบน้ำตาลและแดง ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวกระเบื้อง ไม่สามารถขัดออกได้ เกิดขึ้นเนื่องจากประเภทเหล็กที่อยู่ในสภาพสารละลายในน้ำที่ถูกคลอรีนทำปฏิกริยาทางเคมีจากน้ำที่เติมเข้าไปใหม่หรือเหล็กที่ถูกคลอรีนหรือกรดละลายออกมาจากน้ำ หรือปั๊มน้ำ เนื่องจากกรดที่เติมลงไปในสระน้ำ

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวควรปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อน้ำยุบไม่ควรเติมน้ำครั้งละมาก ๆ หรือนาน ๆ เติมครั้ง ควรเติมน้ำบ่อย ๆ ครั้ง ครั้งละน้อย ๆ
2. ควบคุม pH อย่าให้น้ำเป็นกรด
3. อย่าใช้โลหะเหล็กในระบบสระว่ายน้ำที่สัมผัสกับน้ำในสระน้ำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เคลือบด้วย EPOXY
4. อย่าเติมกรดใกล้ ๆ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะ เพราะจะทำให้โลหะชุบลอกได้ หรือที่เป็น STAINLESS STEEL ที่เป็น GRADE 304 เป็นสนิมได้

น้ำยากันตะไคร่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีอื่นในการรักษาสภาพน้ำได้ ควรจะใช้น้ำยากันตะไคร่ใส่ลงไปในสระได้โดยตรง ห้ามผสมกับสารเคมีอื่น
น้ำยากันตะไคร่พิเศษจะทำงานได้ดีในช่วง pH 7 ถึง 7.8 คือ ก่อนใส่น้ำยากันตะไคร่ควรปรับค่า pH เสียก่อน

การเก็บรักษา
ควรเก็บในภาชนะให้เรียบร้อย ปิดฝาให้สนิท และเก็บในอุณหภูมิห้อง

วิธีการใช้ชุดทดลองน้ำ
1. เอน้ำใส่ในหลอดทดลองถึงขีดที่กำหนด (น้ำที่นำมาหาค่าต้องอยู่ลึกไม่น้อยกว่า 18 นิ้วจากผิวน้ำ) โดยการคว่ำหลอดที่บรรจุน้ำลงไปในสระให้ลึก 18” แล้วหงายขึ้น น้ำสวนขึ้นไปเต็มหลอด นำขึ้นมาปรับระดับน้ำตามที่กำหนด
2. หยดน้ำยา OTO ในหลอดที่เช็คคลอรีน (CL) 5 หยด
3. หยดน้ำยา PHENOL – RED ในหลอดที่เช็คความเป็นกรด – ด่าง (pH) 5 หยด
4. นำฝามาปิดหลอดทดลอง แล้วเขย่าให้น้ำยากับน้ำเข้ากัน
5. เทียบระดับสีในหลอดกับแถบสีด้านข้างแล้วอ่านค่า
6. ปริมาณคลอรีนในสระ ควรมีประมาณ 0.8 – 1.0 PPM
7. ค่าความเป็นกรด – ด่าง จะต้องอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6
8. ถ้ามีปริมาณคลอรีนในสระมาก ให้เติมน้ำในสระหรือปล่อยทิ้งไว้คลอรีนจะเจือจางเอง
9. ถ้า pH ต่ำกว่า 7.2 แสดงถึงน้ำเป็นกรดให้ใส่โซดาแอซลงไปครั้งละประมาณ 2-3 กก./ ครั้ง และเช็คค่า pH อีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้ว 4 ชม.
10. ถ้า pH สูงกว่า 7.6 แสดงถึงน้ำเป็นด่างให้ใส่กรดน้ำ (กรดเกลือ) ที่ใช้สำหรับสระว่ายน้ำประมาณ 5 ลิตร และเช็คอีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้ว 4 ชม.

ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการใช้งานของเคมีภัณฑ์ในสระว่ายน้ำ
ภาระของการเล่นน้ำ : ปริมาณของนักว่ายน้ำที่เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ความต้องการของคลอรีนสูงขึ้น แสงอาทิตย์ : ความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ที่มากขึ้นจะทำให้อัตราการสลายตัวของคลอรีน สูงขึ้น การสูญเสียไฮโปรคลอไรต์จากแสงอาทิตย์สามารถควบคุมให้ลดน้อย ลงได้โดยการปรับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำด้วยกรดไชยานูริก(Cyan uric Acid) หรือโดยการใช้ Chlorinated Cyan uric
อุณหภูมิของน้ำ : สารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่จะมีอายุสั้นลงเมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูง
ขึ้นกระบวนการสลายตัวของคลอรีนจะถูกเร่งให้เร็วขึ้นอย่างมากถ้าอุณหภูมิ
ของน้ำในสระสูงกว่า 85 องศาฟาเรนไฮต์
ลมและฝน : ลมและฝนจะนำพาสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น ฝุ่น แบคทีเรีย สปอร์สาหร่าย
และอื่น ๆ ลงไปในสระว่ายน้ำ ทำให้คลอรีนที่มีอยู่ถูกใช้ไปจนเหลือไม่เพียง
พอแก่การฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ค่า pH ของน้ำในสระ
เปลี่ยนไป pH ของน้ำที่เหมาะสมตามทฤษฎีควร มีค่าอยู่ระหว่าง 7.2 ถึง 7.6 สภาพต่างทั้งหมด : ถ้าสภาพด่างทั้งหมดของน้ำต่ำกว่า 80 มิลลิกรัมต่อลิตร pH ของน้ำจะเปลี่ยน (Total Alkalinity) แปลงไม่คงที่ เป็นผลให้ความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคของคลอรีนอิสระไม่
คงที่ และยังทำให้ปูนที่ฉะสระว่ายน้ำลอก ถ้าสภาพด่างทั้งหมดสูงกว่า 150
มิลลิกรัมต่อลิตร จะทำให้ pH ของน้ำมัค่าสูงเกินกว่าระดับที่ต้องการ ซึ่งนอก
จากจะทำให้คลอรีนทำงานช้าลงแล้วยังอาจเกิดตะกอนทำให้น้ำขุ่นได้













พูลดีไซด์ไทยแลนด์

“พูลดีไซด์” หรือ “ปราณบุรีพูลช็อป” ดำเนินธุรกิจบริการด้านสระว่ายน้ำและสปาชั้นแนวหน้าครบวงจร(One Stop Service) ด้วยเทคนิคมาตรฐานทางวิศวกรรม ออกแบบและควบคุมงาน โดยทีมวิศวกรและสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านงานโครงสร้างและงานวางระบบโดยเฉพาะ ให้บริการด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปีด้านงานออกแบบ ให้คำปรึกษา งานวางระบบติดตั้งอุปกรณ์ จำหน่ายอุปกรณ์และเคมีภัณฑ์สำหรับสระว่ายน้ำ ติดตามดูแลสภาพน้ำ พร้อมให้บริการทั่วประเทศ เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอสระว่ายน้ำและสปาตามความต้องการของลูกค้า จัดหาอุปกรณ์ที่ลงตัวและทันสมัยนำเข้าเองจากต่างประเทศ พร้อมบริการหลังการขายที่ประทับใจ ตรงต่อเวลา โดยพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอ เราก้าวนำหน้าเหนือคู่แข่ง อยู่ตลอดเวลา ในด้าน การบริการ,ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย,ความซื่อตรง,ความรับผิดชอบ และสิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่เราตระหนัก และนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ลูกค้าคือสิ่งสำคัญที่สุดของเรา เพียงท่านคิดถึงเรา เราจะนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับท่านด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน คุณภาพได้มาตรฐาน การบริการที่ซื่อตรงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เราจึงคัดเลือกแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเราในราคาที่เหมาะสม
เราให้บริการสระว่ายน้ำและสปาในด้าน:
บริการออกแบบ ก่อสร้าง และวางระบบสระว่ายน้ำ้
จำหน่ายอุปกรณ์และเคมีภัณฑ์สำหรับสระว่ายน้ำ
บริการปรับปรุงสระ เปลี่ยนวัสดุพื้นปละผนังสระ
บริการทำความสะอาดและซ่อมแซมสระว่ายน้ำ
รับติดตั้งระบบน้ำอุ่นสระว่ายน้ำ
บริการด้านทดสอบสภาพน้ำ
บริการติดตั้งปั๊ม กรอง ฮีตเตอร์ ชุดว่ายทวนกระแสน้ำ อื่นๆ
รับแปลงระบบคลอรีนเป็นระบบเกลือสำหรับสระว่ายน้ำพร้อมจำหน่ายเซลส์
บริการเปลี่ยนกระเบื้อง ตกแต่งสระว่ายน้ำ เปลี่ยนแปลงรูปแบบสระว่ายน้ำ้
ซ่อมแซมรอยรั่วใต้น้ำ
จำหน่ายผ้าใบคลุมสระว่ายน้ำ ทั้งแบบออโตมติกและแบบตาข่าย
รับติดตั้งระบบโซลาร์เซลส์
รับดูแลสระว่ายน้ำเป็นรายเดือน
หากท่านต้องการบริการด้านต่างๆเกี่ยวกับสระว่ายน้ำด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์ผ่านการฝึกอบรมงานด้านสระว่ายน้ำโดยเฉพาะเชิญเรายินดีให้คำปรึกษาฟรี และเรามีทีมงานที่พูดภาษาอังกฤษได้คอยให้บริการ