วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

น้ำใสๆไม่ใช่เรื่องยาก

การมีความสามารถเฉพาะตัวในเรื่องเคมีของสระว่ายน้ำ ไม่ใช่เรื่องยากหากมีข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง และหากคำนึงถึง สระว่ายน้ำที่สมบูรณ์ สะอาด ปลอดภัย และเป็นที่ชื่นชอบของนักว่ายน้ำทั้งหลาย ก็จะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดูแลในด้าน ความสะอาดถูกหลักสาธารณสุขอย่างเป็นขั้นตอน และไม่มีปัญหาตามมาแก่สุขภาพของนักว่ายน้ำ มีน้ำที่ใสสะอาด ปราศจากสาหร่ายปลอดจากเชื้อโรค อันจะเป็นผลให้เกิดโรคต่อผู้ใช้สระว่ายน้ำ และไม่มีเสียงบ่นเรื่องตาแดง หรือ กลิ่นเหม็นของคลอรีน ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงในการดูแลสระว่ายน้ำ จะทราบดีว่า เนื่องจากเราใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค การที่จะทำให้ การดูแลสระว่ายน้ำเป็นเรื่องง่าย และสะดวก หากมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับคลอรีนก็จะทำให้งานยากเป็นง่ายขึ้นมาได้ คลอรีนที่ใช้ในสระว่ายน้ำมีเหตุผลความสำคัญ 3 เรื่อง คือ ด้วยคุณสมบัติที่ให้ผลรวดเร็ว ในการฆ่าเชื้อโรค และ ยังคงรักษาสภาพความสะอาดอยู่ได้ มีประสิทธิภาพในการทำลายสาหร่าย และตัวคลอรีนเองเป็นสารออกซิไดเซอร์ ชนิดแรง และจะทำปฎิกริยากับสารปนเปื้อนอื่น การเข้าใจถึงบทบาทของคลอรีนในการทำให้น้ำเป็นน้ำที่มี ความสะอาดปลอดภัย ก็จะทำให้ทราบถึงพื้นฐานของการใช้เคมีของสระว่ายน้ำได้เป็นอย่างดี

การใช้คลอรีน
หลังจากได้ใส่คลอรีนในสระว่ายน้ำแล้ว ควรได้มีการตรวจสอบทุกวันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้การฆ่าเชื้อโรค มีประสิทธิภาพ การเติมคลอรีนทุกวันจะสามารถฆ่าเชื้อโรคที่มีอันตราย และที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยของคนได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร หูน้ำหนวก โรคน้ำกัดเท้า การรู้วิธีตรวจสอบน้ำในสระ จะทำให้ทราบถึงปริมาณคลอรีนที่เหลืออยู่ และ ปริมาณความต้องการเติมคลอรีนเพิ่มในแต่ละครั้ง
คำจำกัดความที่สำคัญ
คลอรีนอิสระที่มีอยู่ FAC (Free Available Chlorine)
คือสัดส่วนของคลอรีนทั้งหมด ที่ยังเหลืออยู่ในน้ำที่ผ่านคลอรีนแล้ว และยังไม่ได้ทำปฎิกริยาใด ๆ กับสิ่งปนเปื้อน คลอรีนอิสระนี้จะทำหน้าที่ในการฆ่าแบคทีเรีย และสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ จึงควรแน่ใจว่าสระว่ายน้ำมีชุดตรวจ (Test Kit) หาคลอรีนอิสระ ( FAC) แล้ว เพราะชุดตรวจโดยทั่ว ๆ ไป จะตรวจหาเฉพาะปริมาณคลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine) เท่านั้น ไม่ได้ตรวจคลอรีนอิสระ
คลอรีนรวมที่มีอยู่ (CAC) หรือ คลอรามีน (Combined Available Chlorine or Chloramines) คือสัดส่วนคลอรีนในน้ำที่ได้ทำปฎิกริยาและรวมตัวกับแอมโมเนีย,สารปนเปื้อนที่ประกอบด้วยไนโตรเจน และ สารอินทรีย์อื่น เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ และของเสียอื่น ๆ จากนักว่ายน้ำ ซึ่งคลอรีนบางตัวจะทำให้ตาแสบระคายเคือง และ มีกลิ่นของคลอรีน
คลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine)
เป็นค่าผลรวมของคลอรีนอิสระ (Free Available Chlorine) และคลอรีนรวม (Combined Chlorine)
ส่วนในล้านส่วน, ppm (Parts Per Million)
เป็นค่าที่บอกถึงสัดส่วนของสาร เช่น คลอรีนมีสัดส่วนเป็นน้ำหนัก 1 ส่วนต่อปริมาตรน้ำในสระ 1 ล้านส่วน
การบำบัดเฉียบพลัน (Shock Treatment)
เป็นการบำบัดน้ำในสระให้สะอาด โดยการเติมสารออกซิไดซ์จำนวนหนึ่งลงในสระว่ายน้ำ เพื่อทำลายแอมโมเนีย, สารปนเปือนที่มีไนโตรเจน หรือสารอินทรีย์ การเติมคลอรีนจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นการบำบัดแบบเฉียบพลัน จะสามารถควบคุมสาหร่ายและแบคทีเรียได้ แต่ผู้ใช้จะต้องอ่านคำแนะนำที่ภาชนะบรรจุคลอรีนก่อนว่าคลอรีนชนิดที่ใช้อยู่ สามารถใช้วิธีการแบบนี้ได้หรือไม่
ประเภทของคลอรีนที่นิยมใช้
คลอรีนที่ใช้กันแพร่หลายในสระว่ายน้ำทั่วไป จะได้แก่
- ก๊าซคลอรีน (Chlorine Gas)
- โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium Hypochlorite) น้ำยาฟอกขาว
- แคลเซียม ไฮโปคลอไรท์ (Calcium Hypochlorite) ทั้งชนิดเกล็ดหรือเม็ด
- ลิเทียม ไฮโปคลอไรท์ (Lithium Hypochlorite)
- คลอริเนทเต็ท ไอโซไซยานูเรท (Clorinated Isocyanurates)
หลักการ คือ เมื่อสารประกอบคลอรีนเหล่านี้สัมผัสกับน้ำ ก็จะปล่อยกรดไฮโปคลอรัส(HOCL) ออกมาเป็น สารที่ฆ่าเชื้อโรค ส่วนคลอริเนทเต็ท ไอโซไซยานูเรท(Clorinated Isocyanurates) ซึ่งสารประกอบในกลุ่มนี้ ได้แก่ โซเดียม ไดคลอโรไอโซ ไซยานูเรท (Sodium Dichloroisocyanurate) และไตรคลอโรไอโซไซยานูเรท (Trichloroisocyanurate) เมื่อ สัมผัสกับน้ำจะให้กรดไซยานูริค (Cyanuric Acid) เป็นตัวปรับสภาพน้ำ (Stabilizer) สารปรับสภาพน้ำสามารถแยกเติม ในสระว่ายน้ำ เพื่อลดการสูญเสียคลอรีน อันเนื่องจากรังสีอุลตราไวโอเล็ทจากดวงอาทิตย์

ขั้นตอนการดูแลสระว่ายน้ำ
- ควรอ่านฉลากคำแนะนำการใช้ที่ภาชนะบรรจุคลอรีนอย่างละเอียด
- ตรวจสอบคุณภาพน้ำในสระอย่างสม่ำเสมอ ทำความเข้าใจในการใช้ชุดตรวจสอบ คุณภาพน้ำ (Test Kit) เพื่อให้สามารถรักษาสมดุลทางเคมีของน้ำในสระได้โดยทำการวัดค่าต่อไปนี้
1. ระดับของค่าคลอรีนอิสระ (FAC) ไม่ควรต่ำกว่า 1.0 ppm
2. ระดับของค่าคลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine) เพื่อไม่ให้ค่าคลอรีนรวมที่อยู่ในน้ำต่ำกว่า 0.2 ppm
3. ค่า pH ควรอยู่ระหว่าง 7.2 - 7.6 ซึ่งคลอรีนในน้ำจะทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. วัดค่าอัลคาลินิตี้รวม (Total Alkalinity) เพื่อให้แน่ใจว่าค่า pH อยู่คงที่
5. วัดความกระด้างของน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันการกัดกร่อนของพื้นผิวสระว่ายน้ำ
มาตรฐานทางเคมีของสระว่ายน้ำ
แนวทางที่กำหนดเป็นมาตรฐานทางเคมีของสระว่ายน้ำ โดยสถาบันสระว่ายน้ำแห่งชาติ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรฐานทางด้านสาธารณสุขของแต่ละแห่ง ชนิดของสารเคมีที่ใช้ในแต่ละสระว่ายน้ำที่มี ความแตกต่างกัน และความแตกต่างกันในแต่ละวัน การจดบันทึกข้อมูลการใช้สารเคมี และผลลัพท์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ก็จะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงคุณสมบัติของน้ำในสระได้ และทำให้การแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตรงถูกจุด
ค่ามาตรฐานที่เสนอ
ค่าที่ยอมรับ
- คลอรีนอิสระ (ppm)
1.0 - 3.0
- คลอรีนรวม (ppm)
-
- pH
7.2 - 7.6
- Total Alkalinity (ppm) (เมื่อใช้คลอรีนเหลว, แคเซียมไฮโปคลอไรท์ และลิเทียม ไอโปคลอไรท์)
80 - 100
- Total Alkalinity (ppm) (เมื่อใช้ก๊าซคลอรีน, ไดคลอโร, ไตรคลอโร, และสารประกอบโบรมีน)
100 - 120
- Total Dissolved Solids (ppm) (ของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด)
1,000 - 2,000
- Calcium Hardness (ppm) (ความกระด้าง)
200 - 400
- Cyanuric Acid (ppm) (กรดไซยานูริค)
30 - 50
หมายเหตุ ค่ามาตรฐานตาม National Spa and Pool Institute

การบำบัดน้ำในสระอย่างเฉียบพลัน
หลายท่านอาจมีความเข้าใจว่าการที่เราว่ายน้ำและได้กลิ่นแรงของคลอรีนคงเป็นเพราะมีการใช้คลอรีนมาก ในสระนั้น แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสระน้ำนั้นพยายามที่ใส่คลอรีนมากเกินปริมาณปกติ เพื่อกลบเกลื่อน และ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสระน้ำนั้น การบำบัดน้ำในสระแบบเฉียบพลัน เป็นการเติมสารเคมี ในปริมาณที่มากกว่าปกติ ลงในสระว่ายน้ำ ปริมาณที่สูงเกินปกตินี้จะไปทำลายสารปนเปื้อนอินทรีย์ (Organic Contaminants) และทำการออกซิไดซ์ แอมโมเนีย และ สารประกอบไนโตรเจน และกำจัดกลิ่นของคลอรามีน (Chloramine) ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคือง ในกรณีที่ใช้ คลอรีนในการรักษาคุณภาพน้ำในสระ ผลิตภัณฑ์คลอรีนหลายชนิด จะมีคำแนะนำในการฆ่าสาหร่าย และแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการ ทำความสะอาดน้ำในสระมากขึ้น การบำบัดแบบเฉียบพลัน ต้องใช้ร่วมกับเครื่องปั๊มและอุปกรณ์กรอง และควรกระทำในเวลาเย็นหลังพระอาทิตย์ตกไปแล้ว เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียคลอรีนไป เนื่องจากรังสีอุลตราไวโอเล็ท คำว่า มีปริมาณคลอรีนเกินจุดอิ่มตัว (Super Chlorination) บางครั้งจะใช้เรียกแทนการบำบัดแบบเฉียบพลัน ซึ่งหมายถึงการทำให้มีค่าคลอรีนอิสระ (FAC) สูงถึง 5 ppm หรือมากกว่าการบำบัดแบบนี้ นอกจากจะช่วยออกซิไดซ์ ของเสียต่าง ๆ ในสระว่ายน้ำแล้ว ยังช่วยกำจัดสาหร่ายและแบคทีเรียที่ซ่อนอยู่ตามอุปกรณ์กรองน้ำที่ทำความสะอาดได้ยาก ได้อีกด้วย และการทำให้มีปริมาณคลอรีนเกินจุดอิ่มตัว (Super Chlorination) จะยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นของคลอรามีน ซึ่งจากการเติมคลอรีนลงสระว่ายน้ำ ให้ในน้ำมีค่าปริมาณคลอรีนรวมสูงเป็น 10 เท่า จะทำให้มีปริมาณคลอรีนเกินจุดที่เรียกว่า Breakpoint Chlorination ซึ่งสามารถกำจัดคลอรามีน ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคลอรีน
จากรายละเอียดข้างต้นคงจะทำให้ทราบถึงบทบาท และความสำคัญของคลอรีนในการทำให้สระว่ายน้ำ มีความสะอาด ปลอดภัยและเป็นที่วางใจของนักว่ายน้ำได้ หากสระว่ายน้ำดังกล่าวมีมาตรฐานความสะอาด ดังที่ได้กล่าวแล้ว


กฎเกณฑ์พื้นฐานที่ควรปฏิบัติ
- อ่านคำแนะนำการใช้ที่มาจากบริษัทผู้ผลิต และปฏิบัติตามคำแนะนำ
- เก็บสารเคมีในสถานที่ที่เย็นและแห้ง
- อย่าผสมคลอรีนต่างชนิดกันเข้าด้วยกัน แต่ให้แยกเติมคลอรีนแต่ละชนิดลงสระว่ายน้ำ
- อย่าผสมสารเคมีต่างชนิดกันเข้าด้วยกัน แต่ให้แยกเติมสารเคมีแต่ละชนิดลงสระว่ายน้ำ
- หลีกเลี่ยงการสูดดมควันหรือไอของเคมีโดยตรง
- อย่าซื้อหาสารเคมีสำหรับใช้กับสระว่ายน้ำมาใช้เกินความจำเป็นใช้แต่ละฤดูกาล เพราะสารเคมีจะลดประสิทธิภาพ ลงตามระยะเวลาที่เก็บ
- เก็บสารเคมีให้ห่างไกลจากเด็ก
- เพื่อเป็นการประหยัด ควรเติมคลอรีนในเวลากลางคืนเพราะในระหว่างเวลากลางวัน คลอรีนจะสูญเสียไปเนื่องจากแสงอาทิตย์
อันตรายจากสระว่ายน้ำ
จากโรคติดเชื้อ
จากอุบัติเหตุ
จมน้ำ หรือถูกดูดติดกับปากท่อใต้น้ำ
ลื่นหกล้มบริเวณขอบสระ
ใช้ Slider หรือ diving board
จกาการใช้สารเคมี
ฟันกร่อน ฟันหลิม
ระคายเคืองตา โพรงจมูก
สูดดมก๊าซพิษ
ผลกระทบอื่นๆ จากสารตกค้าง
จากการกลืนน้ำ
เด็กอายุ 5-6 เดือน จะเป็น Hyponatremic seizures เนื่องจากกลืนน้ำเข้าไปมาก
การแท้ง และการพิการแต่กำเนิด
กลืนน้ำที่มีคลอรีนเข้าไปมากๆ จะทำให้ท้องเสีย
ความเป็นไปได้ในการติดเชื้อ เมื่อลงน้ำในสระว่ายน้ำ

อวัยวะติดเชื้อ
การป่วย
สาเหตุ
เส้นทางการติดเชื้อ

ผิวหนัง
การอักเสบในแผล พร้อมีหนอง
สตาปิโลคอคเคน และสเตรปโตคอคเคน
โดยทางอาหาร และการสัมผัส การติดเชื้อ จากการสัมผัส ทั้งโดยตรง และโดยอ้อม จากผ้าเช็ดตัว ฝาผนัง พื้น ฯลฯ

ผื่นตามผิวหนัง
สารเคมี และเชื้อไวรัส
จากเส้นทางน้ำ

โรคเรื้อนกวาง
สารพิษจากสาหร่าย
จากเส้นทางน้ำ

ตุ่มที่เท้า
เชื้อไวรัส
จากพื้นสกปรก และการสัมผัสโดยตรง

ตุ่มต่างๆ ในนักว่ายน้ำ
ไมโครแบคทีเรีย
จากฝาหนังสระว่ายน้ำที่หยาบ และมีเชื้อ

หู
หูอักเสบภายนอก การอักเสบของเส้นทาง ทางรับฟังภายนอก
สตาฟิลคอคเคน และเสตรปโตคอคเคน
จากการติดเชื้อทางอาหาร และจากการสัมผัสโดยเส้นทางน้ำ

การอักเสบตอนกลาง การอักเสบของหูตอนกลาง
สตาฟิโลคอคเคน และเสตรปโตคอคเคน
การติดเชื้อทางอาหารจากมูก ในจมูก และโพรงคอ

ตา
การอักเสบของเยื่อในตา และการอักเสบในลำคอ
เชื้อไวรัส
จากน้ำที่ติดเชื้อ

ทางเดินหายใจ
เป็นหวัด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ฯลฯ
เชื้อไวรัส และแบคทีเรีย
การติดเชื้อทางอาหาร (เป็นหวัด) และจากการสัมผัสทางน้ำ

น้ำมูกไหล
สารจากสาหร่าย ทำให้แพ้
จากน้ำ

อวัยวะภายใน
สมองอักเสบ
นีกลีเรีย ฟาเลรี
จากน้ำที่ติดเชื้อ

โรคลำไส้
ประเภทของซาลโมนีเลีย และไมโครออกานีสม์
จากน้ำที่ติดเชื้อ

สารเคมีในสระว่ายน้ำ
สารเคมีที่เติมลงไป เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำ
สารประกอบคลอรีน ชนิด แก๊ซ ของเหลว หรือแบบผง
แก๊ซโอโซน
สารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของน้ำ ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในการปรับความเป็นกรด - ด่าง สารที่ทำให้น้ำกระด้าง เช่น โซดาแอช แคลเซี่ยม กรดเกลือ หรือโซเดียมไปซัลเฟต
สารเคมีตกค้าง (By-product)
DBP (Disinfection by-produce)
กลุ่ม TTHM's (Total trihalomethanes)
Trichloromethane
Dibromochloromethane
Bromodichloromethane
Tribromomethane
กลุ่ม Haloacetic acids
Monobromoacetic acid
Dibromoacetic acid
Monochloroacetic acid
Dichloroacetic acid
Trichloroacetic acid
กลุ่ม Chlorite
กลุ่ม Bromate
Cyanuric acid
Sulfate
Cyanuric acid ใช้ผลิตไตรคลอร์ และไดคลอร์ ไม่ควรมีในน้ำเกิน 100 ppm
Isocyanuric acid ใช้เติมร่วมกับไตรคลอร์ และไดคลอร์ เพื่อเป็นตัว Carrier ไม่ควรมีในน้ำเกิน 150 ppm
สารประกอบคลอรีน
ที่นิยมใช้ในสระว่ายน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
คลอรีนที่คงตัว (Stabilized Chlorine)
Trichloroisocyanuric acid (TCCA)
Sodium dichlorocyanurate (SDCC)
คลอรีนจะถูกทำลายได้ง่ายในแสงอาทิตย์ ในวันที่แดดจัด คลอรีนอาจหายไป 2 ppm ภายในไม่กี่ชั่วโมง
แต่เมื่อมีกรดไซยานูริก จะช่วยลดการสูญเสียคลอรีน ทำให้คลอรีนอยู่ในน้ำได้นานขึ้น
ขณะเดียวกัน มีการตกค้างของกรดไซยานูริกเพิ่มขึ้น ทำให้เกิด "over-stabilized" และเกิด "chlorine lock" คือ สภาวะที่มีคลอรีนในสระว่ายน้ำ แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ เนื่องจากถูกจับ โดยกรดไซยานูริก
คลอรีนที่ไม่คงตัว (Unstabilized Chlorine)
Calcium hypochlorite Ca(OCl)2
Sodium hypochlorite NaOCl
จะสูญเสียคลอรีนประมาณครึ่งหนึ่งทุกๆ 35 นาที เมื่อถูกแสงแดด
การทำงานของคลอรีนในน้ำ
Cl2
H2O
HOCL
[OCL]




Hypochlorous acid

Hypochloride ion
ถ้าน้ำมี pH ต่ำๆ HOCL จะมีมากกว่า [OCL] โดยจะเปลี่ยนเป็น HOCL มากขึ้น
HOCL ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อประมาณไม่เกิน 2 วินาที
[OCL] ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อประมาณ 30 นาที
อัตราส่วนของ HOCL และ [OCL]
จะขึ้นกับ pH ของน้ำ ดังนี้
น้ำที่มี pH 7.0 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 75%
น้ำที่มี pH 7.4 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 52% (เพียงพอกับการฆ่าเชื้อ)
น้ำที่มี pH 8.0 คลอรีนจะอยู่ในรูป HOCL 25%
คลอรีนจะมีประสิทธิภาพสูง ที่ pH ต่ำ มากกว่า pH สูง
ค่า pH ของน้ำต่ำเกินไป คลอรีนสลายตัวเร็ว แต่ถ้า pH สูงเกินไป ฤทธิ์การฆ่าเชื้อจะเสื่อมลงมาก
ค่า pH ในสระว่ายน้ำที่เหมาะสม ประมาณ 7.4 เนื่องจากเป็น pH ของตาคน
ช่วยทำให้ไม่ระคายเคืองตา
ทำให้กรดไฮโปคอลรัส เพียงพอกับการฆ่าเชื้อ
สภาวะความเป็นกรด-ด่าง ของสารที่ให้คลอรีน
โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำ 40%) จะมีค่า pH 11.5
แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (ผง 65-70%) จะมีค่า pH 11.5
โซเดียมไดคลอโรไอโซไซยานูเรต (60%) จะมีค่า pH ค่อนข้างเป็นกลาง (5.8-7.0)
กรดไตรคลอโรไอโซไซยานูริค (90%) จะมีค่า pH เป็นกรด (2.0-3.7)
ก๊าซคลอรีน จะมีค่า pH เป็นกรดสูง
วิธีการทำความสะอาดสระว่ายน้ำ

ระบบเครื่องกรองทราย และเครื่องกรองผ้า
ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำก็เช่นเดียวกันทั้งระบบเครื่องกรองทรายและเครื่องกรองผ้าจะมีวิธีทำความสะอาดเหมือนกัน และช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับดูดตะกอนคือเวลาประมาณ 05.30 น. หรือไม่เกิน 08.00 น. และควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดให้พร้อม โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
1. สายดูดตะกอน (VACUUM HOSE) 2. หัวดูดตะกอน (VACUUM HEAD) 3. ด้ามดูดตะกอนอลูมิเนียม (TELESCOPIC)

เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด
ก่อนดูดตะกอน
1 เปิดฝาท่อดูดบริเวณผนังสระด้านใดด้านหนึ่ง 2 นำสายดูดตะกอนมาต่อเข้ากับหัวดูดตะกอน 3 ต่อด้ามดูดตะกอนอลูมิเนียม 4 กรอกน้ำให้เต็มสายดูดตะกอน เพื่อป้องกันการเกิดสูญญากาศภายในท่อดูด 5 ต่อหัวท่อสายดูดตะกอน เข้ากับท่อดูดตะกอนที่ผนังสระ 6 เปิดวาล์วดูดตะกอน
7 ปิดหรือหรี่วาล์วน้ำแท๊งค์น้ำล้น หรี่วาล์วสะดือ (แล้วแต่แรงดูดที่ต้องการ) 8 เดินเครื่องประมาณ 1 หรือ 2 เครื่อง ขึ้นอยู่กับแรงดูดที่ต้องการ นำเครื่องดูดตะกอนเลื่อน ดูดตะกอนที่พื้นสระจนกว่าจะหมด

หลังดูดตะกอน 1 เปิดวาล์วสะดือ และวาล์วแท๊งค์น้ำ
2 ปิดวาล์วดูด
3 เทน้ำออกจากสายดูดและเก็บอุปกรณ์สำหรับดูดตะกอนไว้ในที่ร่ม หรือห้องเครื่อง
4 ปิดท่อดูดบริเวณผนังสระด้วยฝาปิด

วิธีการล้างทำความสะอาดเครื่อง
เครื่องกรองทราย
ล้างเครื่องกรองแบบไม่เปิดฝาถังกรอง (Back wash)
1. ให้สังเกตแรงดันที่เกจ์วัดความดัน(Pressure gauge)ถ้าขึ้นเกิน 15-20 ปอนด์ (หรือทุก 2 อาทิตย์) ให้ทำการล้างเครื่องกรองทุกครั้ง หากเดินเครื่องที่ความดันดังกล่าวแล้วจะทำให้มอเตอร์ร้อนและรั่วได้ 2. การล้างเครื่องกรองให้ปิดสวิทซ์ไฟมอเตอร์ปั๊มน้ำแล้วปรับตำแหน่งมัลติพอร์ตวาล์วไปตำแหน่ง Back wash แล้วเปิดสวิทซ์ไฟมอเตอร์ปั๊มน้ำ จนกว่าน้ำในหลอดแก้วจะใส
วิธีล้างเครื่องกรองแบบเปิดฝาครอบกรอง
ปิดเครื่อง ปิดวาล์วดูดตะกอน วาล์วสะดือ วาล์วแท้งค์น้ำล้น และวาล์วส่งน้ำเข้าสระ ปิดวาล์วส่งน้ำเข้ากรอง ยกเว้นตัวที่จะทำการล้างกรอง เปิดฝาครอบด้านบนออก โดยไขน็อตออกทุกตัว ใช้มือคนทรายในถังกรองให้ทั่ว ห้าม! ใช้โลหะหรือวัสดุอื่น ๆ เพราะอาจทำให้ถังกรองขูดขีดแตก และอาจโดนไส้กรองหรือสายอากาศภายในเครื่องเสียหายได้ เปิดน้ำไล่สิ่งปกปรกออกจากถังกรองพร้อมคนทรายเพื่อไล่สิ่งสกปรกจนกว่าน้ำจะใส ปิดน้ำ ปิดฝาถังกรองไขน็อตให้แน่น เปิดวาล์วต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งเหมือนเดิม
วิธีล้างเครื่องกรองชนิดผ้า 1. ปิดเครื่องปั๊มน้ำทั้งหมดก่อน 2. เปิดวาล์วไปที่ตำแหน่งล้างย้อนกลับ (Back wash) 3. เดินเครื่องประมาณ 1 นาทีก่อน และปิดปั๊มน้ำครั้งที่ 1 รอสักครู่เปิดปั๊มอีกครั้งหนึ่งประมาณ 30 วินาที และปิดปั๊มครั้งที่ 2 จากนั้นสลับวาล์วไปที่ตำแหน่งกรองเหมือนเดิม
วิธีเติมผงกรอง วิธีที่ 1 เติมโดยไม่ต้องเปิดฝาถังกรอง 1.1 นำผงกรองละลายในถังน้ำ ด้วยอัตราส่วนตาม SPEC ของเครื่อง 1.2 ดูดเข้าเครื่องทางสายดูดตะกอน ผงกรองก็จะเคลือบผ้ากรองโดยอัตโนมัติ หมายเหตุ : วิธีนี้จะต้องควบคุมให้มีน้ำไหลเข้าสายดูดตะกอนและปั๊มน้ำตลอดเวลา วิธีที่ 2 เติมโดยเปิดฝาถังกรอง 2.1 ชั่งน้ำหนักผงกรองด้วยอัตราส่วน 16 ตารางฟุต/ 1 กก. ตักใส่ด้านบนของผ้ากรองจนครบจำนวนแล้วปิดฝาถังกรองให้แน่น 2.2 เปิดปั๊มน้ำกรอง คำเตือน : ควรโรยผงกรองด้านบนอย่างเร็วและรีบปิดฝาเปิดเครื่อง มิฉะนั้นจะนำไปเกาะตัวกันแน่นที่ก้นถังกรอง
การล้างผ้ากรองอย่างละเอียด คือ การล้างแผ่นกรองโดยยกออกมาจากเครื่องกรองแล้วใช้แปรงหรือ น้ำแรง ๆ ฉีดสิ่งสกปรกให้หลุดหมด (การ Back wash โดยปกติแล้ว ผงกรองและสิ่งสกปรกจะหลุดเพียง 80% เท่านั้น แต่ไม่มีผลต่อการกรองมากนัก จึงแนะนำให้ล้างอย่างละเอียดนี้เพียงปีละ 2 ครั้ง เนื่องจาก การยกแผ่นกรองเข้าออกบ่อย ๆ จะทำได้ยาก ถ้าไม่มีความระมัดระวังอาจจะทำให้โครงผ้ากรองแตกและเสียหายได้ง่าย คำเตือน : จะต้องนำน้ำออกจากถังกรองให้หมดก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการอัดตัวของผงกรอง จะมีผงทำให้เคลือบผ้ากรองล้มเหลว (ทางที่ดีต้องรื้อเริ่มต้นใหม่)
ปั๊มน้ำ สำหรับสระว่ายน้ำที่นิยมใช้ปั๊ม ระบบหมุนรอบ แกนเพลา (Centrifugal Pump) ควรเป็นที่ให้ปริมาตร (Volume) สูง ๆ ความดันปานกลาง ควรมีตะกร้าดักผงหน้าปั๊ม เพื่อป้องกันตะกอนใหญ่ ซึ่งจะทำให้ใบพัดปั๊มอุดตัน อันจะทำให้ปริมาตรปั๊มน้ำลดลงมาก และอาจเป็นสาเหตุให้มอเตอร์ไหม้ได้ อีกประการหนึ่ง ใช้เป็นส่วนช่วยดึงน้ำ (Self Priming Pump) กรณีที่ตั้งปั๊มสูงกว่าระดับผิวน้ำที่สูงระบบหน้า-หลังปั๊ม มีชุดป้องกันการสั่นสะเทือนและการกระแทกของน้ำด้วย สายอ่อนสแตนเลสพร้อมด้วย Check Valve ป้องกันน้ำย้อนกลับ และน้ำหมุนวนกลับของปั๊มข้างเคียง ข้อควรจำ ขณะปั๊มน้ำทำงานต้องมีน้ำอยู่เสมอ ทั้งทางเข้าและทางออกมิเช่นนั้นจะเกิดความร้อน ทำความเสียหายต่อระบบท่อหน้าและหลังปั๊มน้ำ จนอาจทำให้มอเตอร์ปั๊มไหม้ได้ ซึ่งถ้าเกิดกรณีนี้ทางบริษัท ถือเป็นหน้าที่ผู้ควบคุมเครื่องผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายนี้ การป้องกัน เมื่อเปิดเครื่องแล้วทุกครั้งต้องตรวจสอบว่าวาล์วหน้าปั๊มเปิดอยู่ และมีน้ำอยู่ในปั๊มที่กำลังทำงานจุดตรวจอีกจุดคือ ดูแรงดันของน้ำที่ถังกรองหรือดูแรงดันน้ำที่วาล์วไล่ลม เป็นต้น
ระบบควบคุมปั๊มน้ำ ชุดควบคุมแบ่งเป็น 5 วงจรย่อย ต่อด้วยวงจรสตาร์เดลต้า พร้อมแมกเนติกคอนแทรกเตอร์ และโอเวอร์โลด กระแสไฟที่เข้าระบบทั้งหมดจะถูกตรวจสอบด้วยเฟสคอนโทรล ซึ่งถ้าไฟมาไม่ครบเฟสระบบจะถูกตัดทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ปั๊มน้ำ การตรวจสอบโดยดูไฟโชว์เฟส (LAMP) ทั้ง 3 ต้องติดสว่าง จึงเริ่มเปิดเครื่องใหม่ พอสรุปได้ว่า ระบบควบคุมนี้สามารถป้องกัน และควบคุมปั๊มน้ำไม่ให้เกิดความเสียหายจากไฟตก ไฟเกิน ปั๊มทำงานหนักเกินไป หรือกรณีเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เกือบทั้งหมด การเปิด-ปิดปั๊มน้ำ โดยปิดสวิสต์ หรือกดปุ่มเขียวปั๊มหมายเลขที่ต้องการ ควรทิ้งช่วงการเปิดปั๊มแต่ละตัว 20-30 วินาที เพื่อป้องกันกระแสไฟสะดุดช่วงจังหวะเปลี่ยน สตาร์ท และเดลต้าเซอกิต แมกเนติก และโอเวอร์โลด ทำหน้าที่ตัดวงจรเมื่อเกิดไฟลัดวงจร หรือไฟเกินจนเกิดระดับหนึ่ง เริ่มต้นวงจรใหม่โดยเปิดสะพานไฟของวงจรปั๊ม (ยกสะพานไฟ ไม่ให้กระแสไฟไหลผ่าน) ให้สุด กดปุ่ม Reset ที่ชุดโอเวอร์โลด แล้วจึงเริ่มเดินเครื่องใหม่
การเปิดวาล์วน้ำเพื่อการกรองน้ำหมุนเวียนในสระว่ายน้ำ
ให้ปิดวาล์วแท๊งค์น้ำล้น เปิดวาล์วน้ำสะดือ และวาล์วน้ำจ่ายสระว่ายน้ำ
การเติมคลอรีน สระว่ายน้ำจะต้องเติมคลอรีนทุกวัน เนื่องจากฝุ่นละอองอันประกอบด้วยแบคทีเรีย และเชื้อตะไคร่น้ำมากมาย ซึ่งอาจเกิดเชื้อฟักตัวในสระ ทำให้น้ำขุ่นมัวได้ ตลอดจนฝุ่นละอองของโลหะและมีเศษใบไม้แห้งขนาดเล็กๆ อันจะทำให้เกิดสีขึ้น คลอรีนจะทำหน้าที่ฟอกจางสีเพื่อให้ได้น้ำที่ใสสะอาด การเติมคลอรีน จะต้องทำในเวลาหัวค่ำ เนื่องจากในเวลากลางวันน้ำมีอุณหภูมิสูง ทำให้คลอรีนระเหยตัวไว คลอรีน 90% ใส่ทุกๆ คืนในอัตราส่วน 300 กรัมต่อน้ำ 100 คิว จะได้ค่าคลอรีนประมาณ 1.0 – 1.5 PPM. เมื่อวัดในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น แนะนำให้รักษาค่าคลอรีนไว้ไม่ให้ ต่ำกว่า 1.0 PPM .เมื่อเวลา 10.00 น. เช้าของทุกวัน ในกรณีค่าคลอรีนมีไม่ถึงหรือมากเกินไปให้ปรับจำนวนการใส่คลอรีนมากน้อยตามความเหมาะสม

การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำ การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำจะทำในเวลาเช้าเพราะไม่มีอันตรายใด และสามรถเล่นน้ำได้ทันที การเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่น้ำให้ผสมน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วนเสมอ โดยปกติให้ใช้ทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละครั้งในอัตราการใช้ 2 หรือ 3 ออนซ์ต่อน้ำในสระ 5,000 แกลลอน

การเติมน้ำยาจับตะกอน ใส่น้ำยาจับตะกอนในตอนกลางคืนหลังปิดให้บริการ เพื่อให้น้ำยาจับตะกอนทำปฏิกิริยากับตะกอน ทำให้ตะกอนที่แขวงลอยต่างๆ ในสระน้ำมีน้ำหนักมากขึ้นและตกลงสู่พื้นสระ น้ำยาจับตะกอนนี้ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ อัตราการเติมน้ำยาจับตะกอนโดยปกติประมาณ 1 แกลลอนต่อน้ำในสระ 1,500 ลบ.เมตร

น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำ คือน้ำยาที่มีไว้ สำหรับวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในสระน้ำ น้ำยาทดสอบคุณภาพน้ำนั้นจะประกอบไปด้วยน้ำยา สำหรับวัดค่าคลอรีน และน้ำยาวัดค่าความเป็นกรด เป็นด่างของน้ำในสระน้ำ หรือน้ำยาวัดค่า pH นั่นเอง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพ ของน้ำในสระทุกวัน เพื่อให้น้ำในสระมีคุณภาพตรงตาม ที่กำหนดไว้ โดยปกติจะมีการทดสอบทุกวัน เช้าและเย็น
วิธีการทดสอบ 1. นำหลอดทดสอบสภาพน้ำตักน้ำในสระโดยให้ตักน้ำที่ความลึกประมาณ 30 cm.
2. หยดน้ำยาทดสอบสภาพน้ำอย่างละ 4 หยด โดยน้ำยาสีขาวใช้วัดคาคลอรีน น้ำยาสีแดงใช้วัดค่าความเป็นกรดด่าง (pH) 3. ปิดฝาแล้วเขย่าๆ หลอดทดสอบเพื่อให้น้ำยาทดสอบทำปฏิกิริยาเร็วขึ้น 4. เปรียบเทียบค่าสีที่ข้างหลอดทดสอบเพื่ออ่านค่า ค่า PH ในสระว่ายน้ำ pH ใช้ในการวัดคำนวนไฮโดรอิออน (H+) ที่มีอยู่ในสารละลาย โดยใช้วัดระหว่าง 0 – 14 คือ pH ต่ำกว่า 7 เป็นกรด , pH = 7 เป็นกลาง และ pH มากกว่า 7 เป็นด่าง มาตรฐานสำหรับสระน้ำทั่วไปควรจะมี pH = 7.5 หรืออยู่ระหว่าง 7.2 – 7.8 ถ้า pH ต่ำมาก (เป็นกรด) จะเป็นผลให้คลอรีนสลายตัวอย่างรวดเร็วและเกิดการกัดกร่อนมากขึ้น ทั้งยังทำให้แสบตาเมื่อเล่นน้ำ ถ้า pH สูงเกินไปประสิทธิภาพของคลอรีนลดลง จะเกิดตะกรัน น้ำจะขุ่น และแสบตาเช่นกัน
การเพิ่ม (เมื่อ pH ต่ำกว่า 7.2 ) จะใช้โซดาแอช ( Na2 CO3) (เมื่อ pH สูงกว่า 7.8 ) จะใช้กรดเกลือ ( HcI ) หรือ (NaHSO4)

การปฏิบัติและดูแลสระว่ายน้ำประจำวัน(ทำทุกวัน)

1. หลังทำความสะอาดสระแล้วเช็คค่าคลอรีน พี.เอช.ในน้ำ2. ปรับค่าพี.เอช. อยู่ที่ 7.4-7.6 (P.H)3. ปรับค่าคลอรีนอยู่ที่ 1 PPM ทุกวัน4. การปรับค่าคลอรีนฤดูร้อน- สระบ้าน ให้คลอรีนอยู่ที่ 2 ทำวันเว้นวัน- สระบริการ ให้คลอรีนอยู่ที่ 3 ทำทุกวันฤดูฝน- สระบ้าน ให้คลอรีนอยู่ที่ 1.5 ทำวันเว้นวัน- สระบริการ ให้คลอรีนอยู่ที่ 2 ทำทุกวันฤดูหนาว- สระบ้านให้คลอรีนอยู่ที่ 0.6 ทำวันเว้นวัน- สระบริการให้คลอรีนอยู่ที่ 1.5 ทำทุกวัน
การปฏิบัติและดูแลสระว่ายน้ำนอกเหนือประจำวัน

1. การซุปเปอร์คลอรีน คือ การเติมคลอรีน 2-3 เท่าจากปกติคือ ให้ค่าคลอรีนอยู่ที่ 3PPM สำหรับสระบ้านและสระบริการอยู่ที่ 4PPM การชุบเปอร์คลอรีนมักจะทำหลังจากที่มีคนลงเล่นน้ำจำนวนมาก หรือที่มีตะไคร่ทำลายแอมโมเนียและสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการซึ่งสระสมไว้ในน้ำสระบ้าน- ควรชุปเปอร์คลอรีน 2 อาทิตย์ครั้งสระบริการ- ควรชุปเปอร์คลอรีนอาทิตย์ละครั้ง หรือ 2ครั้ง2. การเติมสารส้มหรือสารจับตะกอนอื่น สารส้มจะใช้ในกรณีที่ใช้สระขุ่นและเขียวมีตะกอนมากก่อนจะเติมสารส้มต้องเติมโซดาแอชก่อนเพื่อให้ค่าP.H. อยู่ที่ 8-9 จากนั้นจึงเติมสารส้มด้วยปริมาณน้ำ ส่วนจำนวนสารส้มดูจากตารางอัตราเคมี เมื่อเติมสารส้มแล้วให้เปิด มัลติพอร์ทวาล์วไปที่ตำแหน่งน้ำหมุนเวียนโดยไม่ผ่านเครื่องกรอง (RECIRCULATE) เปิดไว้ 2 ชม. แล้วปิดเครื่อง ขณะเปิดเครื่องให้คนลงไปตีสารส้มเพื่อให้ตกตะกอนทั้งหมด ทิ้งไว้ประมาณ 8-10 ชม. ตะกอนจะตกหมดทั้งสระ เมื่อตะกอนตกหมดแล้วให้ดูดตะกอนออก โดยเตรียมสายดูดต่างๆ ให้พร้อมหมุน MOTIPORTVALVE มัลติพอร์ทวาล์วไปที่ WASTE (ท่อน้ำทิ้ง) เพื่อให้ตะกอนทิ้งออกไปที่ท่อระบายน้ำทิ้ง(น้ำจะไม่ผ่านระบบการกรอง) เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วให้ชุปเปอร์คลอรีนปรับค่า พี.เอช.ข้อควรจำ- หากใส่สารส้มไม่จำเป็นต้องใส่คลอรีน เมื่อดูดตะกอนแล้วจึงใส่คลอรีน- ตะกอนจะตกดีมาก หากค่า พี.เอช. อยู่ที่ 7.4- 7.6หมายเหตุ- กรณีเติมสารส้ม จะต้องเติมโซดาแอชก่อน เพื่อเพิ่มค่า พี.เอช. ให้สูงขึ้น อัตราส่วนโซดาแอชประมาณ 30% ของสารส้ม เช่น สารส้ม 10 กก จึงต้องใช้โซดาแอช 3 กก ควบคู่กันไปทั้งนี้ค่า พี.เอช. จะต้องอยู่ที่ 7.4-7.6
วิธีการใช้ชุดตรวจสอบความเป็น กรด, ด่าง ของน้ำ (TEST KIT)1. การทดสอบค่าคลอรีนของน้ำภายในสระ (CHLORNE) 1.1 เติมน้ำในสระลงในช่องเล็ก 1.2 เติมน้ำยาหมายเลข 1 (คลอรีน เทส) ลงไป 5 หยด 1.3 ปิดฝาและเขย่าสักระยะหนึ่ง 1.4 เทียบสีที่ปรากฏออกมากับตารางสีดู ดังนี้ - ถ้าสีที่ออกมาดำกว่าระดับ 1 แสดงว่า คลอรีนในน้ำน้อยเกินไป - ถ้าสีที่ออกมาได้ระดับ 1.5 เป็นระดับที่พอดี - ถ้าสีที่ออกมาได้ระดับสูงกว่า 3 เป็นระดับที่มากเกินไป ให้เว้นการเติมไว้จนกว่าค่าคลอรีนจะลดลงมาเหลือ 1.5 (ยกเว้นชุปเปอร์คลอรีนควรอยู่ที่ 3 PPM)2. การทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในสระ ( pH) 2.1 เติมน้ำยาหมายเลข 2 ลงไป 5 หยด แล้วเขย่า 2.2 เทียบสีที่ปรากฏออกมากับตารางสีดู ดังนี้ - ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับ 7.4-7.6 แสดงว่า ค่ากรดด่างอยู่ในระดับดี( ถ้าใช้คลอรีน 90%ควรให้อยู่ในระดับ 7.4) - ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับ 7.8 แสดงว่า ค่าความเป็นด่างสูงไปควรเติม กรดเกลือ 35% 1.2 กก ทิ้งไว้สัก 2 ชม. เช็คค่า พี.เอช. อีกครั้ง หากยังสูงให้เติมอีก 1 กก เช็คดูจนกว่า พี.เอช. จะลงมาที่ 7.4- 7.62.3 ถ้าสีที่ออกมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 7.0 แสดงว่า ค่าความเป็นกรดสูงไปควรเติมโซดาแอช 1-2 กก ทิ้งไว้สัก 2 ชม. เช็คดู หากยังไม่ได้เติมโซดาแอชจนกว่า พี.เอช. จะอยู่ที่7.4 ปัญหาของน้ำและสภาพน้ำในสระ
ปัญหาน้ำ1. ในน้ำมีสารส้มละลายอยู่มาก สีของน้ำจะปรากฏดังนี้ 1.1 แดงน้ำตาล น้ำมีสนิมมาก 1.2 เขียวฟ้า น้ำมีคอปเปอร์ (COPPER) 1.3 ดำน้ำตาล น้ำมีแมงกานีสสภาพน้ำข้างต้นนี้จะพบตอนลงน้ำใหม่หรือเปลี่ยนในสระใหม่วิธีแก้ไข 1. เติมโซดาแอชให้ค่า พี.เอช. อยู่ที่ 8 PPM 2. เติมสารส้ม ( 1กก ต่อน้ำ 40 คิว) 3. หมุน MULTIPORT VALVE ไปที่ RECIRCULATE เปิดปั๊มไว้ 2 ชม. 4. หากเป็นเครื่องกรอง D.E. ให้ยกแผ่นกรองออกให้หมดก่อนที่จะเปิดปั๊ม 5. ใช้ไม้หรือคนลงไปตี 1 ชม. เมื่อตีแล้วปล่อยไว้ 8-10 ชม. จะเริ่มตกตะกอน 6. ดูดน้ำทิ้งไป โดยเปิด MULTIPORT VALVE ไปที่ WASTE จะต้องค่อยๆดูดเพื่อมิให้ตะกอนพุ่งหรือลอยตัว แต่อย่าช้าเพราะจะเสียน้ำมาก 7. ชุปเปอร์คลอรีนให้อยู่ 3-4 PPM 8. เปิดเครื่องกรองเดิน 16 ชม. หรือจนกว่าน้ำจะใส ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน 9. หากมีตะกอนตกค้างอยู่มากให้ดูดทิ้ง หากตะกอนตกน้อยให้ดูดผ่านเครื่องกรองได้เลย แล้วถอดแผ่นกรองออกมาล้าง2. สภาพน้ำขุ่นเขียว เนื่องจากมี COPPER ในน้ำมากหรือเกิดตะใคร่ ตะใคร่เขียวหรือตะใคร่เกิดใหม่วิธีแก้ไข
1. แก้ไขโดย ลงสารส้มเหมือนข้อ 1 2. เมื่อดูดตะกอนทิ้งแล้วให้ขัดกระเบื้องขอบสระโดยเฉพาะช่วงที่มีตะใคร่น้ำต้องขัดจนกว่าตะใคร่จะหมด 3. ชุปเปอร์คลอรีน 3 วัน ติดต่อกันให้สูงกว่า 3.53. สภาพน้ำเขียวใส เนื่องจากการใส่คลอรีนมากเกินไป เพราะในสระไม่มีคลอรีน คลอรีนจะไปทำปฏิกริยากับตะใคร่น้ำทำให้น้ำเขียวใสทันทีวิธีแก้ไข 1. ถอดแผ่นกรองออกมาล้าง หรือเบรควอสกราย 2. เติมน้ำลงในสระ จนกว่าคลอรีนจะลดลง 3. เปิดเครื่องเดินตลอด4. จุดดำหรือตะใคร่น้ำ คือตะใคร่ที่เกิดขึ้นนานและตาย วิธีแก้ไข 1. ชุปเปอร์คลอรีนติดต่อกัน 3 วัน ให้คลอรีนอยู่ที่ 3.5 PPM2. ขัดตะใคร่ออกให้หมดและกวาดลงตรงท่อ MAINDRAIN5. การระคายหรือเคืองตา แสบตาสาเหตุเกิดจาก- คลอรีนไม่เพียงพอ ( คลอรีนต่ำ)- พี.เอช. อ่านไม่ได้ค่าคือสูงหรือต่ำกว่าเครื่องวัด วิธีแก้ไข 1. ชุปเปอร์คลอรีนอยู่ที่ 3 2. ปรับค่า พี.เอช. ให้อยู่ 7.4-7.66. น้ำขุ่น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ - ระบบการกรอง - พี.เอช. สูงหรือค่าความเป็นด่างมาก - หินปูนมาก - ตะกอนมาก - ตะใคร่เกิดวิธีแก้ไข 1. ล้างเครื่องกรองให้สะอาด 2. เติมกรดเกลือ 35% ปรับค่า พี.เอช. ให้อยู่ 7.4 - 7.6 3. เติมคลอรีน 90% แทนคลอรีน 60% 4. เติมสารส้มและดูดตะกอนตามข้อ 15. ชุปเปอร์คลอรีนให้

2 ความคิดเห็น:

  1. Best online casino in Malaysia: Gaming with the big bonuses
    Best online casino in Malaysia: Gaming with the big bonuses. best online casino in Malaysia: Gaming with the big bonuses. The best online casino in Malaysia: Gaming with the big bonus. 카지노 사이트 무신사

    ตอบลบ
  2. Caesars Casino | Dr.D.M.C.
    Play Blackjack for 세종특별자치 출장안마 real cash at 울산광역 출장마사지 Caesars Casino. 밀양 출장안마 Free Bets with Caesars Casino. New Player Bonus 보령 출장샵 Code: No 광명 출장마사지 Code Required.

    ตอบลบ