วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การดูแลรักษาสระว่ายน้ำ

ระบบการหมุนเวียนของสระน้ำ

การหมุนเวียนของน้ำในระบบสระน้ำสามารถทำได้ 2 วิธี ด้วยกัน คือ
วิธีที่ 1 ปั๊มจะดูดน้ำจากถังสำรองน้ำ ( SURGE TANK ) ผ่านเครื่องกรองแล้วจ่ายกลับไปสระที่ท่อ
FLOOR INLET / WALL INLET
วิธีที่ 2 ปั๊มจะดูดน้ำจากท่อพื้นสระ ( MAINDRAIN ) ผ่านเครื่องกรองแล้วจ่ายกลับไปสระที่ท่อ
FLOOR INLET / WALL INLET
ในวิธีที่ 2 นั้นส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ SURGE TANK เช่นSURGE TANK รั่ว , กำลังทำการล้าง เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้วิธีที่ 1 ในการกรองน้ำตามปกติ
การที่จะรักษาคุณภาพของน้ำในสระน้ำให้ใสสระอาดอยู่เสมอนั้น จะต้องพยายยามรักษาค่าpH ให้อยู่ใน ระหว่าง 7.2-7.6 และปริมาณ CHLORINE ในน้ำให้อยู่ระหว่าง 1.0-1.5 PPM.(mg/1) เหตุผลสำคัญที่ต้องควบคุมค่า pH และ ค่า CHLORINE นั้นเพราะ
- ถ้าน้ำมีสภาพเป็นกรด คือ ค่า pH ต่ำกว่า 7.2 ( น้ำในสระยังคงใส ) ซึ่งจะมีผลทำให้ โลหะผุกร่อน , อายุการใช้งานของแผ่นกรอง / ทรายกรอง จะน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ลงเล่นน้ำในสระ จะรู้สึกแสบตา , คันตามร่างกาย , ฟันผุกร่อน , และอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาและฟันได้ถ้าหาก pH ต่ำกว่า 5.0
- ถ้าน้ำมีสภาพเป็นด่าง คือ ค่า pH สูงกว่า 7.6 น้ำจะค่อนข้างขุ่นมัว เนื่องจากมีแร่ธาตุบางตัวตกตะกอนในสภาพของน้ำที่มีความป็นด่าง โดยจะมีหินปูนเกาะที่พื้อนและผนังสระและคนที่ลงเล่นน้ำจะรู้สึกเหนียวตัว
- ถ้าปริมาณคลอรีนในน้ำมีน้อยจะทำให้น้ำสกปรก เกิดตะไคร่น้ำและมีเชื้อแบคทีเรียซึ่งบางชนิดไม่ตาย หากปริมาณคลอรีนน้อยเกินไป ซึ่งหากคนที่ลงเล่นน้ำ และทานน้ำเข้าไป อาจจะทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้





การตรวจเช็คประจำวันของสระน้ำ

ในแต่ละวันควรจะมีการดูแลสระน้ำของท่าน อย่างสม่ำเสมอและใกล้ชิดเพื่อที่จะสามารถ
แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที โดยสามารถตรวจเช็คส่วนต่างๆได้ ดังนี้

1. ทดสอบค่า Br, Cl, pH ตอนเช้า 1 ครั้ง และก่อนปิดสระอีก 1 ครั้ง พร้อมปรับแต่ง คุณภาพของน้ำและเติมสารเคมีที่ขาดทันที
2. เช็คระดับน้ำในถังสำรองน้ำ SURGE TANK ให้มีเพียงพอตลอดเวลาพร้อมที่จะเดินเครื่องระบบกรอง ( ประมาณ 1 / 2 ของ TANK )
3. เช็คความดันที่เกจวัดความดันของเครื่องกรองว่าถึงเวลาล้างเครื่องกรองแล้วหรือยังพร้อมทั้งให้เปิดวาล็วไล่อากาศที่เครื่องกรอง ( AIR RELIEF VALVE )
4. ดูดตะกอนพื้นสระทำความสะอาดบริเวณสระน้ำ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในสระ
5. เดินเครื่องระบบกรองตามตารางเวลา
6. ตรวจตำแหน่ง เปิด – ปิด ของวาล์วในห้องเครื่องให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และอยู่ในสภาพที่ปกติ
7. ตรวจเช็คสารเคมีให้มีสำรองไว้ใช้อย่างพอเพียง


















การทำงานของระบบกรองน้ำ

การทำงงานของระบบกรองน้ำ จะชัการควบคุมน้ำจาก PUMP ก่อนเข้าเครื่องกรองได้
2 แบบหลัก ๆ คือ
1 ). แบบใช้ VARI-FLO CONTROL VALVE FUNCTIONS
2 ). แบบใช้ VALVE ควบคุม (BALL- VALVE , GATE VALVE etc.)

1 ). VARI-FLO CONTROL VALVE FUNCTIONS
เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกำหนดการจ่ายน้ำ เข้า – ออก ของเครื่องกรองซึ่งสามารถใช้ได้กับเครื่องกรองแบบ D.E. FILTER โดยได้แยกลักษณะการทำงานต่าง ๆ ออกเป็น 6FUNCTIONS และใช้พนักงานที่ดูแลเป็นผู้เลือกหรือกำหนดการทำงานของแต่ละช่อง ดังนี้
1. FILTER สำหรับ การกรองน้ำและการดูดตะกอนโดยผ่านระบบการกรอง
น้ำตามปกติ
2. BACKWASH สำหรับ การทำความสะอาดเครื่องกรองด้วยการระบายตะกอน
ในเครื่องกรองออกโดยการให้น้ำไหลย้อยกลับกันจากปกติ
3. RINSE สำหรับ ให้น้ำผ่านระบบกรองแล้วปล่อยออกที่ท่อน้ำทิ้ง ใช้
ภายหลังจาก BACKWASH เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำที่สกปรก
ทั้งหมดถูกชำระล้างออกจากเครื่องกรองทางท่อน้ำทิ้งแล้ว
4. WASTE สำหรับ ปล่อยน้ำทิ้งโดยไม่ผ่านเครื่องกรอง
5. RECIRCULATE สำหรับ การหมุนวียนของน้ำผ่านหัวคอนโทรลแล้วกลับไปสระ
โดยไม่ผ่านเครื่องกรอง
6. CLOSED สำหรับ ปิดการไหลของน้ำจากปั๊มเข้าเครื่องกรอง

2 ). VALVE ควบคุม
โดยทั่วไป VALVE ที่ใช้ในระบบ มีหลายแบบด้วยกัน เช่น BALL- VALVE , GATE VALVE , BUTTERFLY VALVE เป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง VALVE นี้จะทำหน้าที่กำหนดการจ่ายน้ำ เข้า – ออก ของเครื่องกรองโดยพนักงานที่ดูแลเป็นผู้เปิด – ปิด VALVE




การเดินเครื่องกรอง

1. เปิดฝาเครื่องกรองออกเดินผงกรองตามปริมาณที่กำหนด แล้วปิดฝาเครื่องกรอง
2. เช็คตำแหน่งของ VALVE ให้ถูกต้อง ดังนี้
- ปิด VALVE MAINDRAIN ทั้งหมด
- ปิด VALVE VACUUM ทั้งหมด
- เปิด VALVE SURGE TANK ทั้งหมด
- เปิด VALVE หน้าปั๊ม – หลังปั๊ม ทั้งหมด
- เปิด VALVE POOL INLET ทั้งหมด
3. เช็คตำแหน่งของ VARI-FLO CONTROL VALVE
- หมุนให้ลูกศรชี้ในตำแหน่ง FILTER
4. เปิดฝา STRAINER กรอกน้ำให้เต็ม STRAINER หรือเปิด VALVE ประปา ดูจน เต็มแล้วปิดฝาSTRAINER ปิด VALVE ประปา
5. เดินปั๊มพร้อมเปิด VALVE ไล่อากาศที่เครื่องกรอง โดยสังเกตุให้มีลมพุ่งออกมาแสดงว่าปั๊มดูดน้ำขึ้น ถ้าไม่มีลมพุ่งออกมา แสดงว่าปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ให้ทำตามข้อ 4.อีกครั้ง และเปิด VALVE ประปาช่วยรอจนมีน้ำพุ่งออกมาจากที่ไล่อากาศแล้วปิดVALVE ประปา
6. ถ้าเปิด VALVE ประปาแล้วปั๊มยังดูดน้ำไม่ขึ้นให้ตรวจหาสาเหตุ อย่าปล่อยให้ปั๊มเดินโดยไม่มีน้ำเด็ดขาด
7. เมื่อเดินปั๊มไล่อากาศที่เครื่องกรองแล้ว สังเกตุที่เกจวัดความดันจะขึ้นประมาณ5 – 10 Psi แสดงว่าเครื่องกรองมีพื้นที่การกรองมาก และอัตราการไหลของน้ำที่ผ่านการกรองอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เมื่อเราเดินเครื่องกรองใช้งานทุกวัน สิ่งสกปรกจะมาสะสมที่เครื่องกรองมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อความดัน ที่เกจสูงขึ้นจนถึงประมาณ 20 PSI แสดงว่าพื้นที่ในการกรองลดน้อยลงมากซึ่งทำให้น้ำไหลผ่านได้น้อย สมควรที่จะต้องทำการล้างเครื่องกรองโดยทันที
8. ระบบปั๊มของเครื่องกรองจะต้องทำงานอย่างน้อย วันละ 8 ชั่วโมง โดยจะแบ่งช่วงทำงาน และช่วงพัก ประมาณ 2 – 3 ครั้ง ตัวอย่าง เช่น
8.00 น. เดินปั๊ม - 12.00 น. หยุดปั๊ม
15.00 น. เดินปั๊ม - 20.00 น. หยุดปั๊ม
9. การหยุดปั๊ม หมายถึง หยุดทั้งระบบ โดยปั๊มของระบบกรองจะหยุดการทำงานทุกตัวจุดมุ่งหมายที่ให้หยุดคือ การพักเครื่องกรอง เพราะเมื่อเราหยุดพักปั๊มทั้งหมด สิ่งสกปรกที่จับที่แผ่นกรองจะคลายตัวลงจากแผ่นกรอง ทำให้เกิดการเรียงตัวของผงกรองใหม่ เมื่อเริ่มเดินปั๊มในครั้งต่อไป ให้สังเกตุที่เกจวัดความดันจะลดลง ทำให้เราให้ผงกรองได้นานขึ้น
การทำความสะอาดสระน้ำ

การทำความสระอาดสระ หมายถึง การกระทำการใด ๆ เพื่อให้น้ำในสระสะอาดโยการดูดตะกอน , ขัดสระ รวมถึงการปรับสะภาพน้ำ ตรวจเช็ค pH และ Cl
ในการทำความสะอาดสระว่ายน้ำนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ด้วยกันคือ
1. การทำความสะอาดโดยใช้ชุดดูดตะกอน ให้ปฏิบัติดังนี้
1.1 เปิดฝาท่อดูดตะกอน ( VACUUM FITTING )
1.2 เปิดวาล์วดูดตะกอน ( VALVE VACUUM )
1.3 ปิดวาล์วถังพักน้ำ ( VALVE SURGE TANK )
1.4 ประกอบชุดดูดตะกอน ( หัวดูด, สายดูด, ด้ามดูด ) ใส่ลงในสระ และกรอกน้ำให้เต็มสายแล้วสวมเข้าไปในตำแหน่งท่อดูดตะกอน ( VACUUM FITTING )
1.5 ดูดตะกอนจนกระทั่งสายดูดไม่สามารถดูดถึงบริเวณอื่น ให้เปลี่ยนตำแหน่งของที่สวมสายดูด โดยถอดสายดูดออกจากตำแหน่งที่เสียบไว้เดิมก่อน และให้เปิดฝาดูดตะกอนอีกฝาที่จะใช้และปิดฝาเดิมที่ไม่ได้ใช้
1.6 เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วให้ไปเปิดวาล์วถังพักน้ำ และปิดวาล์วดูดตะกอน
1.7 เดินเครื่องกรองตามปกติ
2. การทำความสะอาดด้วยชุดทำความสะอาด
- แปรงไนล่อน ใช้สำหรับถูกระเบื้องที่สกปรกหรือมีตะไคร่เกาะอยู่
- แปรงถูตะไคร่ ใช้สำหรับถูตามแนวร่องกระเบื้องที่มีตะไคร่จับโดยก่อนที่จะทำการขัดตะไคร่นั้น ควรจะใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้นประมาณ 3 – 5 PPM( SUPER CHLORINE ) ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วจึงใช้แปรงถูตะไคร่ที่มีขนแปรงเป็นSTANLESS STELL ขัดออก
ในกรณีที่เกิดปัญหาน้ำในสระเสียขึ้นมา ควรจะตรวจสอบค่า pH และปรับสภาพน้ำให้ได้ค่า pH ตามกำหนด แล้วใส่คลอรีนลงไปให้มากขึ้น หรือประมาณ 3 – 5 PPM เดินเครื่องกรองให้นานมากขึ้น ถ้าเครื่องกรองสกปรกต้องรีบทำการล้างเครื่องกรอง เพื่อเครื่องกรองจะได้ทำงานได้เต็มที่และช่วยให้น้ำใสเร็วขึ้นนอกจากนั้นยังอาจจะใส่น้ำยากันตะไคร่เพื่อช่วยให้ใสเร็วขึ้นอีกด้วยแต่ต้องปรับ pH ให้อยู่ระหว่าง 7.2 -7.6 และห้ามนำน้ำยากันตะไคร่ไปผสมกับน้ำยาเคมีอื่น ๆ ก่อนใส่ลงในสระน้ำ





การล้างเครื่องกรองทราย SAND FILTER

1. ให้ปิดปั๊มระบบกรอง
2. ให้ตรวจดูระดับน้ำใน SURGE TANK ว่ามีน้ำเพียวพอต่อการล้างเครื่องกรองหรือไม่
3. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง BACKWASH
4. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการ BACKWASH โดยใช้เวลาประมาณ 2 – 3 นาที หรือจนน้ำที่ปล่อยออกทางท่อน้ำทิ้งค่อนข้างใส โดยให้สังเกตุที่หลอดแก้ว ( SIGHT GLASS ) ข้างVARI-FLO VALVE
5. หลังจากที่น้ำทิ้งค่อนข้างใส ให้ปิดสวิทซ์ปั๊ม
6. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง RINSE
7. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการ RINSE โดยใช้เวลาประมาณ 10 – 30 นาที
8. ตรวจเช็คน้ำทิ้งที่หลอดแก้ว เมื่อค่อนข้างใสให้ปิดสวิทซ์ปั๊ม
9. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง FILTER
10. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการเดินเครื่องกรองตามปกติ


















การล้างเครื่องกรอง D.E. FILTER

การล้างเครื่องกรองให้สังเกตุที่เกจวัดความดันของเครื่องกรอง ถ้าเข้มขึ้นมาถึงประมาณ 15 – 20 Psi ให้ทำการ BACKWASH ตามขั้นตอน และเมื่อใช้เครื่องกรองเป็นระยะเวลาประมาณ 5 – 6 เดือน ให้ถอดเครื่องกรองเพื่อเอาแผ่นกรองออกมาล้าง ตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

การ BACKWASH (D.E. FILTER)
1. ปิดปั๊มระบบกรอง
2. ให้ตรวจดูระดับน้ำใน SURGE TANK ให้มีน้ำเพียงพอต่อการล้างเครื่องกรอง( 3/4 ’’ TANK )
3. หมุน VARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง BACKWASH
4. เปิดสวิทซ์ปั๊มเพื่อทำการ BACKWASH โดยเวลาในการ BACKWASH ประมาณ 1 – 2 นาที หรือจนน้ำใส โดยสังเกตุที่ SIGHT GLASS
5. เมื่อ BACKWASH เสร็จแล้วให้ปิดสวิทซ์ปั๊ม แล้วหมุน VARI-FLO VALVE ไปที่
ตำแหน่ง FILTER
6. เติมผงกรองแต่ละเครื่องในปริมาณที่กำหนดโดยใส่ที่ช่องที่ทำไว้
7. เปิดสวิทซ์ปั๊มระบบกรองเดินตามปกติ

การถอดแผ่นกรองออกมาล้าง ( D.E. FILTER )
1. ปิดวาล์วน้ำเข้าและวาล์วน้ำออกพร้อมทั้งเปิดวาล์วไล่อากาศ ( AIR RELIEF – VALVE ) และหมุน VARI-FLO VALVE ไปตำแหน่ง BACKWASH หรือเปิดวาล์วน้ำทิ้งจากเครื่องกรอง
2. ใช้เครื่องมือเปิดเอาฝาเครื่องกรองออก เอาแผ่นกรองออกมาล้างโดยฉีดน้ำให้สะอาด
3. ประกอบแผ่นกรองให้เข้าที่เดิม
4. ใส่ผงกรองตามปริมาณที่กำหนด
5. เปิดวาล์วน้ำเข้าและวาล์วน้ำออก ปิดวาล์วน้ำทิ้งจากเครื่องกรอง หรือหมุนVARI-FLO VALVE ไปยังตำแหน่ง FILTER






การใช้ชุดทดลองน้ำ ( TEST KIT )

1. เอาน้ำใส่ในหลอดทดลองถึงขีดที่กำหนด (นำน้ำในสระที่ความลึกไม่น้อยกว่า 18 นิ้วจากผิวน้ำ)
2. หยดน้ำยา OTO ในหลอดที่เช็คคลอรีน (Cl ) 5 หยด
3. หยดน้ำยา PHENOL – RED ในหลอดที่เช็คความเป็นกรด – ด่าง ( pH ) 5 หยด
4. ปิดฝาและเขย่า
5. เทียบระดับสีในหลอด กับ แถบสีด้านข้าง แล้วอ่านค่า
6. ปริมาณคลอรีนในสระควรมีประมาณ 1.0 – 1.5 PPM (mg/1)
7. ค่า pH จะต้องอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6 ซึ่งค่า pH จะบ่งบอกสถานภาพของน้ำว่ามีความเป็นกรด หรือ ด่าง
8. ถ้าปริมาณคลอรีนต่ำให้เติมคลอรีนประมาณ 3 กรัมต่อปริมาณน้ำ 1 ม3
9. ถ้าปริมาณคลอรีนในสระมากให้เติมน้ำในสระหรือปล่อยทิ้งไว้คลอรีนจะจางเอง
10. ถ้า pH ต่ำกว่า 7.2 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นกรดให้ใส่โซดาแอซลงไปครั้งละประมาณ 30 กรัม ต่อปริมาณ น้ำ 1 ม3 โดยนำโซดาแอซละลายในถังน้ำก่อน แล้วเทใส่ในสระและเช็คค่า pH อีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
11. ถ้า pH สูงกว่า 7.6 แสดงถึงน้ำมีสภาพเป็นด่างให้ใส่กรดแห้ง / กรดเกลือ ที่ใช้สำหรับสระน้ำ ใส่ไปครั้งละไม่เกิน 20 กรัมต่อน้ำ 1 ม3 และเช็คอีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้วประมาณ 4 ชม. (ระบบกรองน้ำยังคงทำงานอยู่)
12. ถ้าค่า pH ไม่ดีขึ้นควรเติมเคมีเพื่อปรับสภาพน้ำตามข้างต้นอีก และเช็คค่า pH อีกครั้ง ทำดังนี้จนได้ระดับค่าที่กำหนด
หมายเหตุ น้ำยาสำหรับชุดทดลองน้ำเพื่อทดสอบ pH จะหมดอายุภายใน 6 เดือน และควรเก็บไว้ในที่ไม่โดนแสงแดด









การดูแลรักษาอุปกรณ์สระน้ำ

อุปกรณ์ต่าง ๆ ของสระน้ำ ทั้งที่ติดตั้งภายในสระและรวมถึงอุปกรณ์ที่ติดตั้งภายในห้องเครื่องกรอง ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการดูแลและรักษาให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานพร้อมทั้งคงประสิทธิภาพและเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย ก็จะต้องซื้อหามาทดแทน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ในระดับหนึ่ง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ควรแก่การเอาใจใส่ดูแลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ ดังนี้

1). เครื่องกรองน้ำ
ควรดูแลไม่ให้น้ำหยดหรือรั่ว ถ้าซ่อมแซมได้ให้รีบซ่อมแซมอย่าทิ้งไว้นาน ซึ่งจะมีผลทำให้เสียหายมากขึ้น ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วย STAINDLESS STELL ให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้ามีคราบคล้ายสนิมเกิดขึ้นให้ใช้สก็อตไบรท์ชุบน้ำขัดจนสนิมหมด ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ถ้าเริ่มเป็นสนิมแล้วไม่ขัดออกก็จะกลายเป็นตามด ทำให้เครื่องกรองทะลุได้ ถ้าเป็นเครื่องกรองที่ทำด้วยไฟเบอร์กลาส หรือวัสดุใดที่ไม่ใช่โลหะให้ทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งรวมทั้งใส่น้ำมันหล่อลื่นบริเวณน็อตและสายรัด

2). ปั๊มมอเตอร์
ควรตรวจเช็คปั๊มอย่าให้มีจุดรั่วหรือน้ำหยดเพราะเมื่อมอเตอร์ทำงานปั๊มจะดูดลมเข้าไปทำให้ปั๊มดูดน้ำไม่ขึ้น ปั๊มมอเตอร์จะร้อนทำให้ MECHANICAL SEAL ชำรุดและ ข้อต่อหน้าปั๊มหรือหลังปั๊มรั่ว ถ้าเป็นปั๊มที่ไม่ใช่โลหะ อาจทำให้อุปกรณ์ภายในร้อนจนละลายหรือตัวปั๊มเองชำรุดเสียหายได้ ถ้าการทำงานของปั๊มมอเตอร์ใช้นาฬิกาเป็นตัวควบคุมเวลาการทำงานให้หมั่นตรวจเช็ค โดยทดลองปิดปั๊มไว้สัก 30 นาที แล้วเดินปั๊มใหม่แล้วให้สังเกตุดูว่าดูดน้ำขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ขึ้นต้องหาสาเหตุและรีบแก้ไข อีกสิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ก็คือ ตรวจดูว่าสายไฟที่ต่อเข้ากับมอเตอร์นั้นขันแน่นหรือไม่ ถ้าไม่แน่นอาจจะทำให้แผงไฟที่ตัวมอเตอร์หรือตัวมอเตอร์เองเกิดการใหม้ได้
การตรวจเช็คปั๊ม และ มอเตอร์
- ข้อต่ออยู่ในลักษณะที่ยังใช้การได้ดีหรือไม่ ถ้ารั่วให้แจ้งซ่อมโดยด่วน
- ขณะที่มอเตอร์ทำงาน ปั๊มสามารถดูดน้ำขึ้นได้หรือไม่
- เช็ดและทำความสะอาดมอเตอร์
- เอาขยะและใบไม้ออกจากตะกร้าสเตนเนอร์
- เอาจารบีใส่ที่น็อตสเตนเนอร์
- ใช้ SONAX ฉีดที CONTRACT ของ MOTOR


3). อุปกรณ์ไฟฟ้า
- ตรวจเช็คน็อตที่ยึดต่อสายไฟให้แน่น
- ตั้งนาฬิกาที่ควบคุมการทำงานของปั๊มให้ตรงกับเวลาจริง
- อย่าให้มีน้ำขังในห้องเครื่องเพราะทำให้ภายในห้องเครื่องมีความชื้นสูงซึ่งจะทำให้
อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดชำรุดเสียหายได้
- ทำความสะอาดตู้ไฟ ทั้งภายในและภายนอก

4). อุปกรณ์ทำความสะอาดสระ
อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เป็นพลาสติกห้ามทิ้งตากแดดเพราะจะทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นมีอายุการใช้งานสั้นลงอันเนื่องมาจากแสงแดด ( ULTRAVIOLET ) เช่น สายดูดตะกอน , แปรงไนล่อน , แปรงถูตะไคร่ ฯลฯ ส่วนน้ำยาเช็คคลอรีน ( OTO ) และน้ำยาเช็คความเป็น กรด – ด่าง( PHENOL – RED) ของน้ำนั้นมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน คือควรจะเปลี่ยนน้ำยาทุก ๆ 5 เดือน เพื่อความแน่นอน

5). ห้องเครื่อง
ควรดูแลอย่าให้น้ำขัง และมีแสงสว่างเพียงพอ และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ รวมถึงมีการ
ระบายอากาศที่ดีโดยอาจจะติดพัดลมดูดอากาศเพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศได้สะดวก















วิธีการใช้เครื่องกรอง, เคมีภัณฑ์, และ การดูแลรักษาสระว่ายน้ำ

การเดินเครื่องกรองสระว่ายน้ำควนเดินอย่างน้อยวันละ 12 ชม. ในกรณีที่มีคนเล่นมากจนต้องเพิ่มจำนวนเวลาในการหมุนเวียนน้ำให้มากขึ้น เช่น 16 ชม. หรือ 18 ชม. และจะทำการล้างเครื่องมือเกจวัดความดันขึ้นไป 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยการถอดสายรัดยกเอาแผ่นกรองออกมาล้างและเปลี่ยนผงกรองใหม่ด้วย

ระบบการหมุนเวียนของสระน้ำในระบบน้ำล้น
ระบบการหมุนเวียนของสระน้ำใช้ได้ 2 ระบบ คือ
1. ดูดจากกันสระผ่านเครื่องกรองและจ่ายออกทางน้ำเข้าสระที่พื้นสระ ในสระน้ำระบบน้ำล้น
2. ดูดจากถังพักน้ำ (SURGE TANK) เข้าเครื่องกรอง และจ่ายเข้าสระทางพื้นสระในระบบที่1
นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มีปัญหาที่เกิดกับ SURGE TANK เช่น SURGE TANK รั่ว ซึ่ง
ตามปกติแล้วจะใช้ในระบบที่ 2

วิธีการล้างเครื่องกรอง
1. ปิดประตูน้ำเข้าและประตูน้ำออกพร้อมทั้งเปิด AIR RELIEF VALVE และเปิดวาล์วก้นเครื่อง
2. ใช้กุญแจหกเหลี่ยมเปิดเอาฝาหม้อกรองออกเอาแผ่นกรองออกมาล้าง โดยฉีดน้ำให้สะอาดหรือ BACKWASH
3. ใส่กลับลงไปใหม่พรร้อมทั้งเติมผงกรองลงไป 2, 2.5, 3, 4, 5.5, 7, 8.5 กก. สำหรับเครื่องกรองขนาด 16, 20, 28, 36, 48, 400 และ 600 ตามลำดับ
4. เปิดวาล์วน้ำเข้าและน้ำออก ปิดวาล์วน้ำทิ้ง
5. เดินปั๊มน้ำ, ไล่ลม, ปิด AIR RELIEF VALVE

การทำความสะอาดสระว่ายน้ำ
1. การดูดตะกอน
1. เปิดฝาที่ดูดตะกอน
2. เปิดวาล์วที่ดูดตะกอน
3. ปิดวาล์วที่ดูดจากถังพักน้ำ
4. เอาหัวดูดและสายดูดจุ่มลงในสระน้ำและกรอกน้ำให้เต็มสายแล้วสวมเข้าไปในรูสำหรับสวมสายดูด
5. ดูดตะกอนจนกระทั่งสายดูดไม่สามารถดูดบริเวณที่อื่นได้แล้ว ให้เปลี่ยนตำแหน่งของรูสายดูดออกจากรูที่เสียบไว้เดิมก่อน และไปเปิดรูดูดตะกอน อีกรูหนึ่งและถึงจะปิดรูที่ไม่ใช้
6. เมื่อดูดตะกอนเสร็จแล้วเปิดวาล์วถังพักน้ำ ปิดวาล์วดูดตะกอน
2. การขัดสระ
แปรงที่ใช้ในการขัดสระมีอยู่ 2 ชนิด
1. แปรงไนล่อน ใช้สำหรับถูกระเบื้องที่สกปรก
2. แปรงถูตะไคร่ ใช้สำหรับถูตามแนวร่องกระเบื้องที่มีตะไคร่จับโดยก่อนที่จะทำการถูตะไคร่นั้นควรจะไล่คลอรีนให้มีประมาณ 2 – 3 PPM โดยโรยคลอรีนลงบริเวณที่มีตะไคร่ คลอรีนจะฆ่าตะไคร่ให้ตาย แล้วถึงจะใช้แปรงถูตะไคร่ขัดออก

การดูแลรักษากระดานกระโดดและบันได
1. กระดานกระโดด
1.1 ขันน็อตยึดกระดานให้แน่นอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะทำให้รูกระดานกระโดดหลวมได้
1.2 ตรวจเช็คยางรองกระดานให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ทั้งยางรองกระดานหน้าและหลัง
2. บันได
2.1 ขันขั้นบันไดและตัวบันไดให้แน่นอยู่เสมอ ถ้ามีการขยับหรือไม่แน่นจะทำให้ขั้นบันได
หักได้
2.2 ใช้สก็อตไบรต์ชุบน้ำขัดราวบันได ในกรณีที่เกิดคราบสนิมจับอยู่

วิธีการใช้เคมีของสระน้ำ
การเติมคลอรีน
คลอรีนในสระน้ำควรจะมีระหว่าง 0.8-1.0 PPM ใช้ชุดทดลองเป็นตัวเช็คดูว่าน้ำในสระน้ำมีคลอรีนเพียงพอหรือไม่ ถ้าคลอรีนมีน้อยจะทำให้น้ำเขียวเนื่องจากตะไคร่ การใส่คลอรีนนั้นควรจะใส่ตอนเย็นที่ไม่มีแดด เพราะแดดจะเป็นตัวทำให้คลอรีนระเหยเร็ว ทำให้คลอรีนสูญหายไป การตรวจสอบคลอรีนนั้นควรตรวจสอบตอนเช้าให้มีคลอรีนอยู่ 1 PPM ในกรณีที่ฝนตก แดดจัด หรือมีคนเล่นน้ำมากจะต้องเพิ่มจำนวนคลอรีนหรือในกรณีที่สระน้ำมีตะไคร่ขึ้นจะต้องใส่คลอรีนให้มากกว่าที่ใช้ประจำอยู่ประมาณ 3-4 เท่า (2-4 PPM) การเติมคลอรีนโดยตรงกับน้ำในสระว่ายน้ำ สามารถเติมได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเติมโดยใช้โรยลงในสระโดยตรง หรือว่าจะใช้เครื่องฉีดคลอรีนลงในสระว่ายน้ำ ซึ่งวิธีนี้ การหมุนเวียนของน้ำในสระจะช่วยเพิ่ม ทำให้การกระจายและการละลายสารเคมีในสระว่ายน้ำได้ทั่วถึงและสม่ำเสมอในระยะเวลาอันสั้น

ปริมาณการใช้ : ใช้ 3 กรัม / น้ำ 1 คิวบิกเมตร

การตรวจสอบความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ
ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำควรจะเป็น 7.2 - 7.6 คือเป็นด่างเล็กน้อย
( pH = 7 หมายความว่าน้ำเป็นกลางสูงกว่า 7 เป็นด่าง, ต่ำกว่า 7 เป็นกรด ) ถ้าน้ำเป็นด่างมาก 8– 8.5
จะทำให้น้ำขุ่นเนื่อจากแร่ธาตุต่าง ๆ จะตกตะกอนและทำให้คลอรีนทำปฏิกริยาไม่ดีเท่าที่ควร วิธีแก้โดยการเติมกรดแห้งลงไปในจำนวนพอประมาณ แล้วใช้ชุดทดลองทดสอบ pH ของน้ำ ถ้าไม่พอให้ค่อย ๆ เติมทีละน้อย แต่ถ้า pH ต่ำกว่า 7 จะทำให้น้ำเป็นกรดกัดปั๊มและพวกโลหะให้ผุกร่อนได้ และสร้างความระคายเคืองแก่ผู้ว่ายน้ำ วิธีแก้โดยการเติมโซดาแอซลงไปในจำนวนที่พอประมาณ และทดสอบด้วยชุดทดลองน้ำเหมือนกับการเติมกรด จำนวนกรดแห้งและโซดาแอซที่ใส่นั้นขึ้นอยู่กับว่าจำนวนน้ำในสระ และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ของน้ำในสระนั้น การเติมสารเคมีทั้ง 2 ชนิดนั้น สามารถเติมลงไปในสระว่ายน้ำโดยตรงหรือจะเติมลงไปใน SURGE TANK ก็ได้
ดังนั้นการดูแลรักษาสระในด้านเคมี จะต้องทำการตรวจเช็คสภาพน้ำอยู่เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดปัญหาเรื่องตะไคร่น้ำและความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำไม่พอดี
หมายเหตุ น้ำยาสำหรับชุดทดลองน้ำ เพื่อทดสอบ pH จะหมดอายุภายใน 6 เดือน

วิธีการใช้ยากันตะไคร่ชนิดต่าง ๆ
ในกรณีที่จะเกิดตะไคร่น้ำดำให้ใช้ยากันตะไคร่ชนิดยากันตะไคร่น้ำดำ ( BLACK ALSGE ) ส่วนยากันตะไคร่ชนิดตะไคร่น้ำสีเขียวนั้นใช้ยากันตะไคร่ธรรมดา หรือจะใช้คลอรีนใส่ในสระน้ำให้มีจำนวนมากก็ได้แต่ต้องปรับสภาพความเป็นกรด – เป็นด่างของน้ำก่อน นอกจากนั้นยากันตะไคร่น้ำสีเขียวยังใช้ในการทำความสะอาดขัดขอบสระได้ด้วย

SWIM CHEM ALGAE – RID น้ำยากันตะไคร่ธรรมดา
น้ำยากันตะไคร่ธรรมดา สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีอื่น ในการรักษาสภาพน้ำได้โดยน้ำยากันตะไคร่ธรรมดา สามารถเติมลงในสระน้ำได้โดยตรง ห้ามผสมกับสารเคมีอื่น
น้ำยากันตะไคร่ธรรมดา ทำงานได้ดีในช่วง pH ระหว่าง 7 ถึง 7.5 ถ้า pH ต่ำกว่า 7 ให้ปรับค่า pH ขึ้น โดยเติมโซดาแอซ ถ้าค่า pH สูงกว่า 7.5 ให้ปรับค่า pH ลงโดยการเติมกรดแห้ง (โซเดียมไบซัลเฟรต) น้ำยากันตะไคร่จะไม่กัดกร่อน โลหะ และคอนกรีต



การเก็บรักษา
ควรเก็บในภาชนะที่เป็นแก้ว หรือ กระเบื้อง ปิดฝาให้แน่น และเก็บในที่เย็นและไม่มีแสงแดดและเก็บให้พ้นมือเด็ก

การกำจัดตะไคร่
เป็นน้ำยากันตะไคร่ สำหรับป้องกันตะไคร่สีเขียวและตะไคร่แกมน้ำเงิน ช่วยทำให้น้ำใส ทำความสะอาดง่าย ช่วยประหยัดปริมาณการใช้คลอรีน (ไม่แนะนำให้ใช้กับบ่อเลี้ยงปลา และบ่อบัว)

การทำให้น้ำใส
1. ล้างสระน้ำให้สะอาด และเติมน้ำสะอาดลงในสระ
2. ทำการปรับสภาพน้ำเริ่มต้นโดยปรับ pH
3. เติม SWIM CHEM ให้กระจายทั่วทั้งสระ และหมุนเวียนเข้าไปในระบบ
4. เดินเครื่องกรอง
5. เติมคลอรีนให้ได้ตามที่กำหนด
6. ทิ้งไว้ให้สิ่งสกปรกตกตะกอน (มากน้อยแล้วแต่ความสะอาดของน้ำที่เติมลงไปครั้งแรก)
7. ดูดตะกอน ทำความสะอาดสระน้ำ
8. น้ำจะใสภายใน 4 – 5 วัน

ปริมาณการเติม
เริ่มต้นใช้สระ ใช้น้ำยากันตะไคร่ 2 ลิตร ต่อน้ำ 100 m3
ทุกอาทิตย์ ใช้น้ำยากันตะไคร่ 1/4 ลิตร ต่อน้ำ 100 m3

SWIM CHEM ALGAE – RID (SPECIAL) น้ำยากันตะไคร่พิเศษ
การใช้ SWIM CHEM ALGAE – RID (SPECIAL) เหมือนกับ SWIM CHEM ALGAE – RID จะช่วยให้ประสิทธิภาพการป้องกันตะไคร่ชนิดต่าง ๆ ได้ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งตะไคร่สีดำ

การป้องกันการเกิดคราบและรอยเปื้อน
รอยคราบน้ำตาลและแดง ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวกระเบื้อง ไม่สามารถขัดออกได้ เกิดขึ้นเนื่องจากประเภทเหล็กที่อยู่ในสภาพสารละลายในน้ำที่ถูกคลอรีนทำปฏิกริยาทางเคมีจากน้ำที่เติมเข้าไปใหม่หรือเหล็กที่ถูกคลอรีนหรือกรดละลายออกมาจากน้ำ หรือปั๊มน้ำ เนื่องจากกรดที่เติมลงไปในสระน้ำ

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวควรปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อน้ำยุบไม่ควรเติมน้ำครั้งละมาก ๆ หรือนาน ๆ เติมครั้ง ควรเติมน้ำบ่อย ๆ ครั้ง ครั้งละน้อย ๆ
2. ควบคุม pH อย่าให้น้ำเป็นกรด
3. อย่าใช้โลหะเหล็กในระบบสระว่ายน้ำที่สัมผัสกับน้ำในสระน้ำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เคลือบด้วย EPOXY
4. อย่าเติมกรดใกล้ ๆ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะ เพราะจะทำให้โลหะชุบลอกได้ หรือที่เป็น STAINLESS STEEL ที่เป็น GRADE 304 เป็นสนิมได้

น้ำยากันตะไคร่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีอื่นในการรักษาสภาพน้ำได้ ควรจะใช้น้ำยากันตะไคร่ใส่ลงไปในสระได้โดยตรง ห้ามผสมกับสารเคมีอื่น
น้ำยากันตะไคร่พิเศษจะทำงานได้ดีในช่วง pH 7 ถึง 7.8 คือ ก่อนใส่น้ำยากันตะไคร่ควรปรับค่า pH เสียก่อน

การเก็บรักษา
ควรเก็บในภาชนะให้เรียบร้อย ปิดฝาให้สนิท และเก็บในอุณหภูมิห้อง

วิธีการใช้ชุดทดลองน้ำ
1. เอน้ำใส่ในหลอดทดลองถึงขีดที่กำหนด (น้ำที่นำมาหาค่าต้องอยู่ลึกไม่น้อยกว่า 18 นิ้วจากผิวน้ำ) โดยการคว่ำหลอดที่บรรจุน้ำลงไปในสระให้ลึก 18” แล้วหงายขึ้น น้ำสวนขึ้นไปเต็มหลอด นำขึ้นมาปรับระดับน้ำตามที่กำหนด
2. หยดน้ำยา OTO ในหลอดที่เช็คคลอรีน (CL) 5 หยด
3. หยดน้ำยา PHENOL – RED ในหลอดที่เช็คความเป็นกรด – ด่าง (pH) 5 หยด
4. นำฝามาปิดหลอดทดลอง แล้วเขย่าให้น้ำยากับน้ำเข้ากัน
5. เทียบระดับสีในหลอดกับแถบสีด้านข้างแล้วอ่านค่า
6. ปริมาณคลอรีนในสระ ควรมีประมาณ 0.8 – 1.0 PPM
7. ค่าความเป็นกรด – ด่าง จะต้องอยู่ระหว่าง 7.2 – 7.6
8. ถ้ามีปริมาณคลอรีนในสระมาก ให้เติมน้ำในสระหรือปล่อยทิ้งไว้คลอรีนจะเจือจางเอง
9. ถ้า pH ต่ำกว่า 7.2 แสดงถึงน้ำเป็นกรดให้ใส่โซดาแอซลงไปครั้งละประมาณ 2-3 กก./ ครั้ง และเช็คค่า pH อีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้ว 4 ชม.
10. ถ้า pH สูงกว่า 7.6 แสดงถึงน้ำเป็นด่างให้ใส่กรดน้ำ (กรดเกลือ) ที่ใช้สำหรับสระว่ายน้ำประมาณ 5 ลิตร และเช็คอีกครั้งหลังจากใส่ลงไปแล้ว 4 ชม.

ปัจจัยที่มีผลต่ออายุการใช้งานของเคมีภัณฑ์ในสระว่ายน้ำ
ภาระของการเล่นน้ำ : ปริมาณของนักว่ายน้ำที่เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้ความต้องการของคลอรีนสูงขึ้น แสงอาทิตย์ : ความเข้มข้นของแสงอาทิตย์ที่มากขึ้นจะทำให้อัตราการสลายตัวของคลอรีน สูงขึ้น การสูญเสียไฮโปรคลอไรต์จากแสงอาทิตย์สามารถควบคุมให้ลดน้อย ลงได้โดยการปรับสภาพน้ำในสระว่ายน้ำด้วยกรดไชยานูริก(Cyan uric Acid) หรือโดยการใช้ Chlorinated Cyan uric
อุณหภูมิของน้ำ : สารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่จะมีอายุสั้นลงเมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูง
ขึ้นกระบวนการสลายตัวของคลอรีนจะถูกเร่งให้เร็วขึ้นอย่างมากถ้าอุณหภูมิ
ของน้ำในสระสูงกว่า 85 องศาฟาเรนไฮต์
ลมและฝน : ลมและฝนจะนำพาสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น ฝุ่น แบคทีเรีย สปอร์สาหร่าย
และอื่น ๆ ลงไปในสระว่ายน้ำ ทำให้คลอรีนที่มีอยู่ถูกใช้ไปจนเหลือไม่เพียง
พอแก่การฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ค่า pH ของน้ำในสระ
เปลี่ยนไป pH ของน้ำที่เหมาะสมตามทฤษฎีควร มีค่าอยู่ระหว่าง 7.2 ถึง 7.6 สภาพต่างทั้งหมด : ถ้าสภาพด่างทั้งหมดของน้ำต่ำกว่า 80 มิลลิกรัมต่อลิตร pH ของน้ำจะเปลี่ยน (Total Alkalinity) แปลงไม่คงที่ เป็นผลให้ความสามารถในการฆ่าเชื้อโรคของคลอรีนอิสระไม่
คงที่ และยังทำให้ปูนที่ฉะสระว่ายน้ำลอก ถ้าสภาพด่างทั้งหมดสูงกว่า 150
มิลลิกรัมต่อลิตร จะทำให้ pH ของน้ำมัค่าสูงเกินกว่าระดับที่ต้องการ ซึ่งนอก
จากจะทำให้คลอรีนทำงานช้าลงแล้วยังอาจเกิดตะกอนทำให้น้ำขุ่นได้













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น